วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การผ่าตัดหัวใจในกลุ่มคนที่มีประวัติความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่จัด ภาวะถุงลมโป่งพอง

การผ่าตัดหัวใจในกลุ่มคนที่มีประวัติความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่จัด ภาวะถุงลมโป่งพอง หรือประวัติคนในครอบครัวมีโรคประจำตัว กลุ่มคนเหล่านี้พบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดแดงโป่งพองได้มากกว่าคนทั่วไป โดยหลอดเลือดแดงทำหน้าที่ในการนำแดงจากหัวใจที่ส่งไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย มีความยาวตั้งแต่ช่องอกจากหัวใจไปจนถึงช่องท้อง ซึ่งสาเหตุของความผิดปกติที่เกิดขึ้น มาจากความอ่อนแอของหลอดเลือด ที่อาจเกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือดไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการโป่งพองและแตกออกได้
ผ่าตัดหัวใจ
บางรายมาด้วยอาการปวดท้อง ปวดหลัง ปวดในช่องอก บางรายคลำพบก้อนในท้อง เนื่องจากหลอดเลือดมีการปริแตก และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตจากเลือดออกอย่างเฉียบพลัน หากไม่ทำการรักษา โดยทั่วไปแพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการทำ CT Scan หรือทำการวินิจฉัยสาเหตุที่เกิดขึ้น หากตรวจพบว่ามาจากหลอดเลือดแดงปริหรือแตกต้องรับทำการรักษาโดยเร่งด่วน โดยใช้ การผ่าตัดรักษาแนวใหม่ เรียกว่า “Endovascular Aortic Aneurysm Repair สำหรับช่องท้อง เรียกว่า EVAR และสำหรับช่องอก Thoracic Aortic Aneurysm Repair หรือ TEVAR” ผ่าตัดหัวใจด้วยนวัตกรรมใหม่ล่าสุด
ผ่าตัดหัวใจ
โดยการสอดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดหุ้มด้วยขดลวด ผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบทั้ง 2 ข้าง เข้าไปจนถึงหลอดเลือดแดงใหญ่ที่โป่งพอง และปล่อยขดลวดให้ถ่างขยายในหลอดเลือดแดงใหญ่ เพื่อให้กระแสโลหิตไม่สัมผัสกับบริเวณเส้นแดงที่เป็นโรค ทำให้เส้นเลือดแดงไม่แตก ข้อดีคือ บาดแผลเล็ก เจ็บตัวน้อย เสียเลือดน้อยมาก ฟื้นตัวเร็ว และที่สำคัญ มีความปลอดภัย ลดอัตราการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนในระหว่างผ่าตัด แต่อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดเหล่านี้ต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ ความพร้อมของแพทย์เฉพาะทางและทีมผ่าตัดที่มีประสบการณ์ ห้องผ่าตัดที่ได้มาตรฐาน และถูกออกแบบมาให้สามารถทำการผ่าตัดที่ต้องใช้ความละเอียดและซับซ้อน หรือที่เรียกว่าห้องผ่าตัดไฮบริด (Hybrid Operation Room)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น