วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ เจ็บหน้าอกบ่อย สัญญาณอันตราย

เจ็บหน้าอกบ่อย สัญญาณเป็น “เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ”!

เยื่อหุ้มหัวใจเป็นส่วนที่ไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญสักเท่าไหร่ แต่ถ้าเมื่อไหร่ท่านพบว่าเกิดโรคที่เกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจแล้วก็อาจจะสร้างความรำคาญและความทรมานใจอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
โรคหัวใจเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

ความสำคัญของเยื่อหุ้มหัวใจ

เยื่อหุ้มหัวใจนั้นมีลักษณะบางๆ ห่อหุ้มหัวใจ แบ่งเป็นสองชั้น โดยชั้นในจะติดกับหัวใจโดนตรง ส่วนชั้นนอกจะติดกับปอดและอวัยวะอื่นๆ โดยระหว่างเยื่อหุ้มหัวใจสองชั้นนี้จะมีน้ำหล่อลื่นที่ทำหน้าที่ป้องกันห้องใจของเราไม่ให้เสียดสีหรือกระทบกระเทือนกับอวัยวะอื่นๆที่อยู่ใกล้กับหัวใจในขณะที่หัวใจบีบตัวเข้าออก

เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเกิดขึ้นได้อย่างไร?

โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหรือมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นโรคหัวใจที่เกิดจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ แล้วทำให้เกิดน้ำหนอง หรือเลือดในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ สาเหตุการเกิดเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ประกอบด้วยโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ เนื่องจาก
  • โรคที่ทำให้มีการอักเสบหลายระบบ เช่น Systemic Lupus Erythematosus (SLE)
  • ปฏิกิริยาของแรงกล (mechanical forces) เช่น ฉายแสงรังสี
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา
  • หลังผ่าตัดเปิดหัวใจ (post-pericardiotomy syndrome)
  • บางรายมีเนื้องอกแพร่กระจายมาที่เยื่อหุ้มหัวใจ
  • ไม่พบสาเหตุ

อาการแสดงของโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเป็นอย่างไร?

บางคนเจ็บแน่นหน้าอกมากขึ้นเวลานอน เวลาตะแคงหรือเวลาโน้มตัวไปข้างหน้า และมักจะมีอาการไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และอาการอื่น ๆ ตามสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคร่วมด้วย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเยื่อหุ้มหัวใจที่มีการอักเสบนั้น เกิดการเสียดสีกันมากขึ้น ตามที่ต่างๆแล้วแต่ตำแหน่งของหัวใจ บางคนที่การอักเสบลามไปถึงเยื่อหุ้มปอดที่อยู่ติดกัน ก็จะทำให้มีอาการเจ็บมากขึ้น เวลาคนไข้หายใจเข้าแรงๆ

การวินิจฉัยโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

ซักประวัติ ตรวจร่างกายพบ การตรวจพบน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ เยื่อหุ้ม หัวใจหนา หรือหินปูนในเยื่อหุ้มหัวใจจากการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหรือจากการตรวจ computerized tomography หรือการตรวจ magnetic imaging หรือการตรวจสวนหัวใจ
โรคหัวใจเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

การรักษาและการป้องกันการเกิดโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

สามารถป้องกันโดยการกำจัดสาเหตุ และบรรเทาการบีบรัดหัวใจจากน้ำหรือหนองในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ ทั้งนี้โดยใช้ยาฆ่าเชื้อหรือยาอื่น ๆ ที่เหมาะสม ถ้ามีน้ำหรือหนองอยู่มากพอจะเจาะออกได้ก็จำเป็นที่จะต้องเจาะออก หรือถ้าเจาะไม่ได้ ก็จำเป็นที่จะต้องผ่าตัดเอาน้ำหนอง หรือเยื่อหุ้มหัวใจออกเพื่อไม่ให้หัวใจถูกบีบรัดได้ ผู้ที่เป็นโรคนี้ จึงต้องไปหาหมอและขอรับการรักษาและขอทราบวิธีการป้องกันและการปฏิบัติจากแพทย์เชี่ยวชาญ การรักษาตัวเองในโรคหัวใจประเภทนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุและคำแนะนำของแพทย์สำหรับผู้ป่วยแต่ละคนโดยเฉพาะ

เนื้องอกในสมองคืออะไร อันตรายไหม?

เนื้องอกในสมองคืออะไร อันตรายไหม?

เนื้องอกในสมอง เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์สมองผิดปกติ มีทั้งแบบเนื้องอกธรรมดาและเป็นมะเร็ง ซึ่งทั้งสองชนิดหากเติบโตลุกลาม ขึ้นเรื่อยๆ อาจก่อให้เกิดความพิการ หรืออาจเสียชีวิตได้เนื่องจากสมองเป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของร่างกายรวมทั้งการหายใจ

อัตราการเป็นโรค

เนื้องอกในสมอง พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และช่วงอายุที่พบบ่อย ได้แก่ วัยเด็ก 5 – 9 ปี และช่วงวัยผู้ใหญ่ 50 – 55 ปี

สาเหตุของเนื้องอก

สาเหตุไม่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากพันธุกรรม หรือมีประวัติได้รับการฉายแสง

อาการผิดปกติของโรคเนื้องอกในสมอง

อาการที่พบบ่อยๆ ได้แก่ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน บางรายอาจชัก นอกจากนี้อาการอื่นๆขึ้นอยู่กับว่า เนื้องอกไปกดส่วนไหนของสมอง อาจมีแขนขาอ่อนแรง ถ้าเนื้องอกไปกดส่วนที่ควบคุม การเคลื่อนไหว หรือเนื้องอกไปกดส่วนที่ควบคุมการพูดการเขียนและการทรงตัว

แพทย์จะวินิจฉัยอย่างไร

แพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกายเพื่อให้ได้ข้อมูลเบื้องต้น อาจจะต้องทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม ด้วยคอมพิวเตอร์สมอง (CT SCAN ) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของสมอง (MRI)
เนื้องอกในสมอง

การรักษา

  1. ส่วนใหญ่เนื้องอกในสมองรักษาด้วยการผ่าตัด ปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เพิ่มความปลอดภัยจากการผ่าตัด แผลเล็กฟื้นตัวเร็ว เสียเลือดน้อยลง ผ่าตัดแผลเล็กถึงรอยโรคด้วยความแม่นยำ เรียกว่า Minimally invasive surgery ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ได้แก่
    • เครื่องนำทาง (Navigator) กำหนดตำแหน่งแม่นยำ
    • กล้อง Endoscope ใส่เข้าโพรงขนาดเล็กได้
    • กล้อง Microscope กล้องขยายและนำแสงเห็นภาพชัดเจน
    • Cusa(คลื่นเสียง) หรือ Laser (คลื่นความร้อน) เพื่อตัดเนื้องอก
  2. การฉายรังสี มักจะฉายรังสีหลังจากการผ่าตัดเนื้องอกแล้ว
  3. การให้ยาเคมีบำบัด หรือยาควบคุมการสร้างฮอร์โมน ขึ้นอยู่กับขนิดของเนื้องอก

การป้องกันการเกิดเนื้องอกในสมอง

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกัน แต่สิ่งที่ควรทำคือตนเองและญาติ ต้องสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่นเรื่อง การปวดศีรษะ ตาพร่ามัว การคลื่นไส้อาเจียน การทรงตัว ถ้าพบอาการผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการรักษาเนื่องจาก ปัจจุบันมีการรักษาที่ทันสมัยปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

หลงๆ ลืมๆ (ไฮโดรซีโฟรัส) อาการขี้ลืมในวัยรุ่น เก็บของแล้วชอบหาไม่เจอ

หลงๆ ลืมๆ (ไฮโดรซีโฟรัส) โรคสมองเสื่อมอาจถามหา!


สาเหตุหลักของภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ เรื่องของอายุและพันธุกรรม จำนวนผู้ป่วยที่พบว่าเป็นโรคสมองเสื่อมนั้นเพิ่มมากขึ้นทุกปี ๆ โดยผู้ป่วยในวัยตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป

หลงๆ ลืมๆ โรคสมองเสื่อมอาจถามหา!
เชื่อว่าหลายคนนั้นคงจะเคยมีอาการหลงๆลืมๆ กันบ้างเป็นเรื่องปกติทั่วไป แต่รู้หรือว่าหากมีอาการหลงๆลืมๆบ่อยยิ่งขึ้นนั้นอาจมีสาเหตุมาจากภาวะสมองเสื่อมได้ ดังนั้นเราจึงต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่าอาการหลงๆลืมๆแบบใดที่เป็นปกติและแบบใดที่น่ากังวลใจ
อาการหลงๆลืมๆ อย่างไรที่ผิดปกติ
หลงลืมบ่อยๆ จนน่าเป็นห่วง
นึกถึงสิ่งที่ได้ทำไปแล้วไม่ออก
นึกคำพูดไม่ออก และใช้คำอื่นแทนทำให้ฟังไม่เข้าใจ
หลงทางกลับบ้านไม่ถูก
แต่งตัวไม่ถูกกาลเทศะ หรือปล่อยเนื้อปล่อยตัวไม่สนใจทำความสะอาด
บวกลบเลขง่ายๆ ไม่ได้หรือจำตัวเลขไม่ได้
เก็บข้าวของผิดที่ผิดทางอย่างไม่เหมาะสม เช่น เอารองเท้าเก็บในตู้เย็น
อารมณ์แปรปรวนอย่างไม่มีเหตุผล
บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
เฉื่อยชา ขาดชีวิตชีวา
สาเหตุการเกิดโรคสมองเสื่อม
สาเหตุหลักของภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ เรื่องของอายุและพันธุกรรม จำนวนผู้ป่วยที่พบว่าเป็นโรคสมองเสื่อมนั้นเพิ่มมากขึ้นทุกปี ๆ โดยผู้ป่วยในวัยตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มีอัตราการป่วยสูงถึงร้อยละ 5 - 8 และยิ่งทวีสูงขึ้น เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ในผู้ที่อายุ 90 ปีขึ้นไป พบอัตราการเกิดโรคสูงถึงร้อยละ 50 ภาวะสมองเสื่อมแบ่ง เป็น 5 ระยะ
ระยะที่ 1 ระยะนี้จะเหมือนคนปกติ ไม่มีปัญหาเรื่องการสูญเสียความจำ หรืออาการของโรคสมองเสื่อม
ระยะที่2 ระยะก่อนสมองเสื่อม โดยผู้ป่ายนั้นจะเริ่มสูญเสียความจำ คือพยายามจำข้อมูลที่เรียนรู้เมื่อไม่นานมานี้ไม่ได้ และไม่สามารถรับข้อมูลใหม่ๆ ได้ การสูญเสียความจำจะเป็นมากกว่าคนทั่วไป แต่ไม่รุนแรงมากนัก
ระยะที่3 ระยะนี้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมีความบกพร่องของความจำ และการเรียนรู้อย่างแน่นอนได้ ผู้ป่วยบางส่วนมีปัญหาการใช้ภาษา พูดหรือใช้ศัพท์ไม่ฉะฉานหรือคล่องเหมือนเดิม พูดหรือเขียนภาษาได้น้อยลง อาจพบความบกพร่องของการการเคลื่อนไหว ทำให้ผู้ป่วยดูเงอะงะหรือซุ่มซ่าม
ระยะที่4 ระยะนี้เป็นระยะที่เริ่มจะเป็นโรคสมองเสื่อมในระยะเริ่มต้น หากซักประวัติดีดีก็จะพบว่ามีหลายอาการที่เข้าได้กับโรคสมองเสื่อม
ระยะที่5 ระยะนี้ผู้ป่วยเป็นโรคที่มีความรุนแรงปานกลาง ผู้ป่วยจะไม่สามารถนึกหาคำศัพท์ได้ การเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนจะลดลง ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ได้อย่างปกติระยะนี้ผู้ป่วยจะต้องพึ่งญาติในการดูแลกิจวัตรประจำวัน
ระยะที่6 ผู้ป่วยในระยะนี้มีอาการรุนแรงมากขึ้น สูญเสียความจำมากขึ้น ผู้ป่วยจะพูดประโยคซ้ำ จนกระทั่งไม่สามารถพูดได้เลย อาจจะตอบสนองด้วยการแสดงอารมณ์ ก้าวร้าว มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง อาการแสดงที่พบบ่อยคือการหนีออกจากบ้าน ความรู้สึกผิดปกติ หงุดหงิดโมโหง่าย และอารมณ์แปรปรวน เช่นร้องไห้ ก้าวร้าวอย่างไม่มีเหตุผล
ระยะที่7 ระยะนี้เป็นระยะท้ายองโรคผู้ป่วยไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม สื่อสารกับคนอื่นไม่ได้ ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ มักจะพูดประโยคหรือวลีซ้ำๆ ระยะนี้จะต้องมีคนดูแลทุกเรื่อง การเคลื่อนไหวร่างการมีปัญหา นั่งเอง รับประทานอาหารเองไม่ได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคสมองเสื่อมมีอะไรบ้าง?
การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เพิ่มอุบัติการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมองถึง 2 เท่า และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมถึงสองเท่า
การดื่มแอลกอฮอล์
การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หรือมีไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูง
การที่มีความดันโลหิตสูงในวัยกลางคน
โรคเบาหวานและภาวะดื้อต่ออินซูลิน
ภาวะไขมันในเลือดสูง หรือการระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง
โรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคหัวใจชนิดต่างๆ มีโอกาสทำเกิดหลอดเลือดสมองอุดตันจากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในหัวใจ

สัญญาณเตือน ให้ระวังอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยไม่รู้ตัวในวัยทำงาน

สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต)

โรคหลอดเลือดสมองหรือ Stroke เป็นโรคที่เกิดจากหลอดเลือดไปเลี้ยงสมอง ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต มีความผิดปกติซึ่งมี 2 ชนิดคือหลอดเลือดสมองอุดตันและหลอดเลือดสมองแตก ทำให้สมองหยุดทำงานไปอย่างเฉียบพลัน จากการที่สมองไม่มีเลือดไปเลี้ยงหรือมีเลือดออกแทรกทับในเนื้อสมอง
ที่สำคัญมากคือ ผู้ป่วยทั้งหมดจะมีอาการที่เกิดขึ้นโดยเฉียบพลันทั้งสิ้น

อาการสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต)

   1.หน้าเบี้ยวหรือปากเบี้ยว (Face)
   2.แขนขาไม่มีแรง (Arm)
   3.พูดไม่ชัด พูดอ้อแอ้ หรือพูดไม่ออกเลย (Speech)

   - อาการทุกข้อเกิดขึ้นทันที อย่างเฉียบพลัน
   - เมื่อเกิดอาการใดอาการหนึ่งหรือเกิดหลายอาการในคนเดียวกัน ต้องไม่รอช้าให้รีบไปโรงพยาบาลทันที (Time)
   - เมื่อนำคำหน้าในภาษาอังกฤษมาเรียงกันทำให้จำง่ายขึ้น คือ FAST


70% ของโรคหลอดเลือดสมองเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ซึ่งเกิดจากสาเหตุสำคัญ 3 ประการ
  
 1. การอุดตันของหลอดเลือดจากการเสื่อมหรือการแข็งตัวของหลอดเลือด เป็นสาเหตุของหลอดเลือดอุดตันที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการที่ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยง เช่น สูงอายุ ความดันเลือดสูง เบาหวาน สูบบุหรี่ หรือไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีปัจจัยเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาตอย่างเดียวหรือหลายอย่างในคนเดียวกันก็ได้
   2. ก้อนเลือดจากหัวใจ หรือตะกอนเลือดจากผนังหลอดเลือดแดงที่คอด้านหน้าหลุดเข้าอุดตันหลอดเลือดในสมองสาเหตุของก้อนเลือดจากหัวใจหลุดเข้าสมอง มักเกิดในคนที่มีการเต้นหัวใจไม่สม่ำเสมอ ชนิดหัวใจห้องซ้ายบนเต้นพริ้ว (atrial fibrillation หรือ AF) การเต้นของหัวใจที่บีบตัวไม่พร้อมกันทั้งห้อง
ทำให้มีเลือดค้างในห้องหัวใจ เลือดจะเกิดการแข็งตัวเป็นก้อนเลือดขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้าง ในวันที่เกิดอาการ เกิดจากก้อนเลือดหลุดออกไปที่หัวใจห้องซ้ายล่าง แล้วออกต่อไปที่หลอดเลือดแดงใหญ่ และหลุดเข้าไปในสมอง เกิดการอุดตันของหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กกว่าก้อนเลือด ทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยง นอกจากนี้ตะกอนเลือดที่อยู่ที่ผิวของ plaque ในผนังหลอดเลือดใหญ่ที่คอ สามารถหลุดเข้าไปติดในหลอดเลือดสมอง จากแรงของเลือดที่ไหลเร็วกว่าปกติบริเวณที่หลอดเลือดคอตีบ ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดในสมองได้เช่นกัน
   3. ความดันเลือดลดลงมาก จนไปเลี้ยงสมองไม่ทันเป็นสาเหตุที่พบได้น้อยกว่า 1% ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด สาเหตุของความดันเลือดที่ลดลง ได้แก่
   3.1 หัวใจหยุดเต้นจากการขาดเลือดไปเลี้ยงสมองหรือเรียกว่า Heart attack เมื่อกู้ชีพมาได้หลังจากหัวใจหยุดทำงานไปนาน ทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เมื่อหัวใจกลับมาเต้นใหม่ แต่สมองขาดเลือดนานเกินไป ก็ไม่สามารถกลับมาทำงานใหม่ได้
   3.2 ความดันเลือดตกมากในผู้ป่วยติดเชื้อเข้ากระแสเลือดที่เรียกว่าภาวะช็อค (shock)
   3.3 การกินยาลดความดันเกินขนาด ทำให้ความดันเลือดต่ำจนไม่สามารถเลี้ยงสมองได้พอ
   3.4 ความดันต่ำจากการเปลี่ยนท่า จากท่านอนหรือนั่งเป็นท่ายืนเร็วเกินไป มักพบในคนสูงอายุที่กินยาลดความอ้วน หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมานาน และมีการเสื่อมของประสาทส่วนปลายร่วมด้วย

อีก 30% เกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก แบ่งได้เป็น 2 ชนิด
   
1. เลือดออกในเนื้อสมอง (Intracerebral hemorrage หรือ ICH) เกิดจากหลอดเลือดขนาดเล็กมากเทาเส้นผมหรือเล็กกว่า เกิดการโป่งพอง หรือผนังหลอดเลือดเองเปราะบางจากอายุที่มาก เกิดการแตกทำให้เลือดออกในเนื้อสมองขนาดเท่าเม็กถั่วจนอาจจะใหญ่เท่าผลส้มลูกใหญ่ได้ ผู้ป่วยเหล่านี้จะเกิดอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต ปวดศรีษะรุนแรง อาเจียนหรือหมดสติได้ ในรายที่ก้อนเลือดมีขนาดใหญ่ สาเหตุที่พบได้แก่
   1.1 ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ คนสูงอายุ มีความดันสูงมานาน เบาหวาน ดื่มเหล้าเบียร์มาก เครียดมาก
   1.2 ผู้ป่วยสูงอายุและมีผนังหลอดเลือดเปราะ (amyloid angiopathy)
   1.3 ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดพิการแต่กำเนิด ซึ่งมีหลอดเลือดขดไปมาจำนวนมากและขนาดใหญ่กว่าปกติ (arteriovenous malformation หรือ AVM)
    2. เลือดออกที่ผิวสมอง (Subarachnoid hemorrhage หรือ SAH)เกิดจาก หลอดเลือดขนาดใหญ่ที่ฐานสมอง ซึ่งมีขนาดประมาณไส้ปากกาลูกลื่นถึงขนาดหลอดดูดกาแฟขนาดเล็ก เกิดการโป่งพองและค่อยๆ โตขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดบางมากแล้วแตกออก เลือดที่ออกมักมีจำนวนมากและกระจายไปทั่วผิวสมอง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศรีษะมาก อาเจียน ถ้าเป็นมากอาจหมดสติหรือเสียชีวิตได้ สาเหตุที่พบ ได้แก่
   2.1 ผู้ป่วยที่มีผนังหลอดเลือดใหญ่ที่ฐานสมองไม่แข็งแรงร่วมกับมีความดันสูงมานาน ความดันสูงนี้จะค่อยๆ ดันให้ผนังหลอดเลือดโตเป็นกระเปาะ โตขึ้นเรื่อยๆ ผนังหลอดเลือดบางลงเรื่อยๆ และในที่สุดก็จะแตกออก
   2.2 หลอดเลือดพอการแต่กำเนิดที่มีจำนวนมาก ขดไปมาและขนาดใหญ่กว่าปกติ (AVM) บริเวณผิวสมอง ซึ่งเป็นตั้งแต่กำเนิด เมื่อโตขึ้นจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและแตกได้ในที่สุด 

เลือดออกในสมอง จากความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุต้องระวัง

โรคหลอดเลือดในสมองแตกจากภาวะความดันโลหิตสูง

เป็นที่ทราบกันดีว่า โรคหลอดเลือดสมอง หรือเลือดออกในสมองเป็นโรคที่พบบ่อยในประเทศไทย เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ

นอกจากนั้นยังส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้ป่วย เนื่องจากภาวะทุพพลภาพทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นภาระของสมาชิกในครอบครัว ในเรื่องการดูแลปรนนิบัติ และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วย
คำถาม อาการแสดงของโรคนี้มีอะไรบ้าง
คำตอบ อาการที่แสดงออกจะเป็นลักษณะเฉียบพลัน เช่น
• ปวดศีรษะขึ้นมาทันที บางทีมีอาเจียนร่วมด้วย หรืออาจหมดสติ
• แขน, ขา อ่อนแรง หรือชาขึ้นมาทันทีครึ่งซีก หรือด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย
• มีอาการพูดลำบาก พูดไม่ออก ออกเสียงไม่ชัด ฟังไม่เข้าใจภาษา
• เวียนศีรษะ บ้านหมุน หรือเสียการทรงตัว

ในบางรายเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ป่วยยืน หรือเดินอยู่ อาการแขน, ขาอ่อนแรงครึ่งซีก ทำให้ผู้ป่วยพยุงหรือทรงตัวไม่อยู่แล้วล้มลง เมื่อญาติมาพบทำให้เข้าใจว่าเกิดอุบัติเหตุแล้วทำให้มีเลือดออกในสมอง แต่ผลจากการตรวจร่างกายและการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ทำให้แพทย์สามารถแยกสาเหตุของหลอดเลือดในสมองแตกออกจากการเกิดอุบัติเหตุได้

คำถาม หลอดเลือดในสมองแตกจากภาวะความดันโลหิตสูง มีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นอะไรบ้าง
คำตอบ
1. ภาวะความดันโลหิตสูง
2. ไขมันในเลือดสูง
3. การสูบบุหรี่
4. โรคเบาหวาน
5. การดื่มแอลกอฮอล์
6. อายุมาก
7. มีประวัติเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยบางรายอาจมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่า 1 อย่าง

คำถาม จะทราบได้อย่างไรว่าหลอดเลือดที่แตกเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูง
คำตอบ
• โดยการตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ซึ่งจะปรากฏให้เห็นก้อนเลือดที่ออกในเนื้อสมอง ซึ่งอยู่ลึกลงไปจากผิวสมอง 4-5 เซนติเมตร ในส่วนที่เรียกว่า “เบซิล แกงเกลีย” (Basal ganglia) ซึ่งเป็นส่วนที่พบได้บ่อยมากกว่าส่วนอื่น เลือดที่ออกมานั้นเกิดจากการแตกของหลอดเลือดฝอยในเนื้อสมอง ถึงแม้ว่าหลอดเลือดที่แตกจะมีขนาดเล็ก แต่ก็มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่เลือดออกมาเป็นจำนวนมาก จนเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

นอกจากนั้นเรายังสามารถทราบถึงขนาดของก้อนเลือด รวมทั้งผลกระทบต่อสมองส่วนอื่น ๆ อีกด้วย โดยตำแหน่งที่เห็นในเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง แพทย์จะสามารถบอกได้ว่าเลือดที่ออกมานั้น เกิดจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับภาวะความดันโลหิตสูง หรือเกิดจากสาเหตุอื่น เช่นเลือดออกในสมองจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ เช่น ถูกกระแทก หรือเลือดออกในสมองจากการที่ผู้ป่วยมีหลอดเลือดผิดปกติในสมอง แต่ในบางรายก็อาจจะแยกสาเหตุได้ยากซึ่งอาจจะต้องใช้การตรวจอื่น ๆ เข้ามาช่วย เช่น การฉีดสีแล้วตรวจเอ็กซเรย์เพื่อดูหลอดเลือดในสมอง หรือการตรวจโดยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

ที่มาข้อมูล: 
http://www.phyathai.com/medicalcenterdetail_article/2/93/PYT1/th

สังเกตอาการ โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน(หัวใจวาย)


เรียนรู้สัญญาณเตือนของโรค
หลายคนคิดว่าโรคหัวใจวายหรือหัวใจขาดเลือด เป็นโรคร้ายแรงและเฉียบพลัน คิดว่าคนที่มีอาการของโรคหัวใจวาย คือ คนที่จับหน้าอกแล้วล้มลงไปนอนกับพื้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หลายๆครั้งที่โรคหัวใจจะเริ่มจากอาการแน่นตรงกลางหน้าอก ดังนั้นบางคนที่มีความรู้สึกไม่เหมือนกับอาการอย่างในหนังฮอลลีวู้ด จึงไม่แน่ใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิด อาการแน่นหน้าอก(และอาการอื่นๆ) อาจเป็นๆหายๆ แม้แต่คนที่เป็นโรคนี้อาจไม่ตระหนักถึงสัญญาณอันตรายนี้ เพราะอาการต่อมาอาจมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง
สัญญาณเตือนโรคหัวใจวาย
  • แน่นหน้าอก : โรคหัวใจวายหรือหัวใจขาดเลือดส่วนใหญ่เกี่ยวกับอาการแน่นหน้าอก มักเกิดนานกว่า 2 – 3 นาที หรือเป็นๆหายๆ อาจรู้สึกเหมือนถูกกด บีบ และแน่นๆ ทำให้รู้สึกไม่สบาย
  • อาการเกิดบริเวณส่วนบนของร่างกาย : รวมถึงการเจ็บบริเวณหลังแขนข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง คอ ขากรรไกร หรือ ท้อง
  • หายใจสั้นลง : มักเกิดตามอาการแน่นหน้าอก หรือเกิดก่อนอาการแน่นหน้าอกได้
  • สัญญาณอื่นๆ : ตื่นกลัว , คลื่นไส้ และปวด
ใครที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจวาย
    มีหลายคนคิดว่า โรคหัวใจวายหรือหัวใจขาดเลือดเป็นปัญหาของผู้ชาย แต่โรคหัวใจวายคร่าชีวิตทั้งผู้ชายและผู้หญิง เป็นอันดับหนึ่งของอเมริกา ในผู้ชายความเสี่ยงเกิดโรคเริ่มตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไป ส่วนในผู้หญิง มักเกิดกับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน (50 ปีขึ้นไป) ทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่อายุน้อยกว่าที่กล่าวมา ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจวายทั้งสิ้น นอกจากอายุแล้ว ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจวายมีดังนี้
  • มีประวัติหัวใจวายหรือผ่านการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจ
  • ครอบครัวมีประวัติโรคหัวใจตั้งแต่อายุน้อยๆพ่อหรือพี่ชาย เป็นโรค ก่อนอายุ 55 ปี แม่หรือน้องสาว เป็นโรค ก่อนอายุ 65 ปี
  • โรคเบาหวาน
  • โรคไขมันในหลอดเลือดสูง
  • ความดันโรหิตสูง
  • สูบบุหรี่
  • น้ำหนักเกินมาตรฐาน
  • ไม่ออกกำลังกาย
ถ้าคุณมีปัจจัยเสี่ยง 1ข้อ หรือมากกว่านั้น ควรพบแพทย์เพื่อตรวจ และลดความเสี่ยงการเกิดโรค
แม้ไม่มั่นใจว่าเป็นโรคหัวใจวายหรือไม่ ควรได้รับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ นั่นหมายรวมถึงอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน อาการใหม่ หรืออาการเดิมที่มี การเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากอาการเดิม (เช่น อาการของโรครุนแรงขึ้น ถี่ขึ้นและนานกว่าปกติ)

  โทรเรียกรถพยาบาล BES 1772
เวลา คือ ทุกสิ่ง ทุกคนที่มีสัญญาณอันตรายควรได้รับการตรวจ และรักษาอย่างทันท่วงที ไม่ควรเกิน2-5 นาทีในการโทรเรียกรถพยาบาล ถ้าแพทย์สั่งยา Nitroglycerin จากอาการแน่นหน้าอกจากการทำกิจกรรมที่ต้องออกแรง และอาการนั้นหายไปเมื่อได้พัก (เป็นอาการที่เรียกว่าภาวะการเจ็บหน้าอก หัวใจที่ปกติแล้วเกิดจากการอุดตัน บางส่วนของเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ 1 เส้นหรือมากกว่า คุณอาจจะรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งก่อน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน5นาที คุณควรโทรเรียกรถพยาบาลทันที และไปโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยว่าคุณเป็นโรคหัวใจวายหรือไม่

ในอดีตคนไข้มักเข้าใจว่าให้ทานยา Nitroglycerin 1 เม็ด ทุก 5นาที ให้ครบ 3โดส ถ้าอาการไม่ดีขึ้นค่อยไปพบแพทย์ ซึ่งอาการนี้มีการปรับเปลี่ยนลดลงเหลือเพียง 1 โดส และรอนานมากสุด 5นาที ให้สังเกตุอาการว่าดีขึ้นหรือไม่ ถ้าไม่ดีขึ้น คนไข้ควรถูกนำส่งรพ.โดยเร็วที่สุด เพื่อขยายเส้นเลือดหัวใจ และเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต
การโทรแจ้ง 1772 และใช้รถพยาบาลเพื่อให้คุณถึงโรงพยาบาลอย่างเร็วที่สุด นอกจากนี้ประโยชน์ในการโทรแจ้งรถพยาบาล มีดังนี้
-  คนไข้สามารถเริ่มการรักษาแม้ยังไม่ถึงโรงพยาบาล โดยเจ้าหน้าที่ฉุกเฉิน
-  หัวใจของคุณอาจหยุดเต้นตอนหัวใจวาย จนท.ฉุกฉินที่มีความรู้และความสามารถ ใช้เครื่องมือให้หัวใจกลับมาเต้นได้
-  คนไข้หัวใจวายหากมาโรงพยาบาลโดยใช้รถพยาบาล โ จะสามารถเข้ารับการรักษาได้เร็วกว่า เมื่อถึงโรงพยาบาล
อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณมีอาการหัวใจวายและไม่สามารถโทรแจ้งรถพยาบาลได้ ควรให้ผู้อื่นขับพาไปส่งโรงพยาบาล เพราะอาจหมดสติขณะขับรถได้ โรคหัวใจ คือ เรื่องใกล้ตัว ควรใส่ใจดูแลและศึกษาข้อมูลเพื่อดูแลตนเองและคนที่คุณรัก 

ไอเรื้อรัง ไม่ยอมหาย รบกวนคนรอบข้าง

ไอเรื้อรัง

อาการไอ แน่นอนว่าเป็นอาการที่น่ารำคาญใจของใครหลายๆคน บางคนคิดว่าแค่ไอปล่อยไปเดี๋ยวก็หายเอง แต่หากนานวันไปยังมีอาการไออยู่อย่างต่อเนื่อง นั่นหมายถึงสัญญาณของการเกิดโรคมากมาย
อาการไอเกิดจากการมีสิ่งแปลกปลอมไประคายเคืองหรือการที่เสมหะอยู่ในหลอดลม ร่างกายก็จะกำจัดทิ้งด้วยการไอออกมา บางกรณีที่ไม่ใช่สิ่งแปลกปลอม อาจมีบางอยากไปกดทับที่บริเวณของเนื้อปอดหรือปลอดลมจึงทำให้เกิดอาการไอ เช่น ก้อนเนื้อหรือมะเร็งปอด ทำให้ร่างกายนั้นพยายามจะขับออกมาแต่ไม่สามารถขับได้จนเป็นสาเหตุของอาการไอเรื้อรังเกิดขึ้น

อาการไอเรื้อรังส่งผลให้เกิดโรคใดบ้าง?

  • วัณโรคปอด พบได้ในวัยกลางคนขึ้นไป หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ รวมไปถึงผู้ที่อยู่ใกล้ผู้ที่เป็นวัณโรคปอด โดยจะมีอาการไอเรื้อรังร่วมกับมีไข้เป็นเวลานาน มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด บางรายอาจไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย
  • มะเร็งปอด ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรัง บางราย อาจไอออกเป็นเลือดสด บางรายอาจมีอาการเจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือมีไข้ร่วมด้วย ผู้ป่วยมักมีประวัติสูบบุหรี่จัดมานาน แต่บางรายอาจไม่มีประวัติสูบบุหรี่ก็ได้
  • ถุงลมโป่งพอง มักพบในคนที่มีประวัติสูบบุหรี่จัดมานาน ผู้ป่วยมักมีอาการไอแบบมีเสมหะเรื้อรัง และหอบเหนื่อยง่าย
  • โรคหืด พบได้ในวัยเด็ก มักมีอาการไอ หอบเหนื่อย หายใจดังวี้ด เมื่อสัมผัสถูกสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งกระตุ้น เช่น ฝุ่น หรือเชื้อรา เป็นต้น
  • หลอดลมอักเสบ มักไอมีเสมหะ อาจมีไข้ร่วมด้วยในบางราย และมักไอมากเมื่อถูกสิ่งระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ฝุ่นละออง อากาศเย็น เป็นต้น
  • โรคภูมิแพ้ มักมีอาการคันจมูก คันคอ ไอ จาม บางรายมีน้ำมูกใส ๆ ร่วมด้วย มักมีอาการเมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่นละอองเกสร ขนสัตว์ อากาศเย็น เป็นต้น อาการจะทุเลาเมื่อกินยาแก้แพ้ และกำเริบอีกเมื่อหยุดยา
  • กรดไหลย้อน โดยจะมีอาการไอเรื้อรังทุกวันนานๆเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน มีอาการไอแห้งๆหลังตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังรับประทานอาหาร บางรายมีอาการแสบคอหรือเสียงแหบช่วงตื่นนอน ร่วมกับอาการแสบอก จุกออก หรือแสบจุกคอ

อาการไอแบบใดที่เป็นอันตรายควรรีบพบแพทย์?

  • ไอนานกว่า 3 สัปดาห์ ขึ้นไป
  • อาการไอที่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีเลือดปน น้ำหนักลด เบื่ออาหาร มีไข้เกิน 7 วันหอบเหนื่อย อ่อนเพลีย เจ็บหน้าออกเป็นต้น

การตรวจหาสาเหตุของการไอเรื้อรัง

       เนื่องจากสาเหตุจากการไอเรื้อรังนั้นเกิดจากโรคที่ต่างกัน จึงควรรีบมาพบแพทย์หากมีอาการไอเรื้อรัง เพื่อให้แพทย์ทำการตรวจด้วยการเอ็กซเรย์ทรวงอก และพบว่าเอ็กซเรย์นั้นปกติ อาจจำเป็นต้องตรวจเอ็กซเรย์โพรงจมูก และไซนัสถ้าสงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับภูมิแพ้ และมีจมูกอักเสบเรื้อรัง อาจจะต้องตรวจสมรรถภาพปอด และตรวจดูความไวของหลอดลมว่าผิดปกติหรือไม่ ในกรณีที่สงสัยว่าอาจะเป็นโรคหอบหืด อาจจะต้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นโดยการเอ็กซเรย์ หรือการส่องกล้องดู หรือตรวจดูภาวะการเป็นกรดถ้าสงสัยว่าเป็นโรคกรดในกระเพาะไหลย้อนทางเดินอาหาร

การดูแลตนเอง

       ผู้ที่มีอาการไอเรื้อรังควรพักผ่อนและงดการใช้เสียง ออกกำลังอยู่สม่ำเสมอ งดรับประทานของทอดและของมันและควรดื่มน้ำให้มากๆ นอกจากนั้นหากทานยาแก้ไอแล้วยังไม่ดีขึ้นควรรีบมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุในการรักษา

สบายใจ ไร้กังวลกับการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องแบบ “Mini”

สบายใจ ไร้กังวลกับการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องแบบ “Mini”
 
อาการปวดคอ ปวดเอว หรือ ปวดหลังเรื้อรังอันเกิดจากกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทนั้นถือเป็น หนึ่งในโรคยอดฮิตของคนไทย โดยพบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในทุกอาชีพและเกือบทุกช่วงอายุ สาเหตุสำคัญคือ การนั่งนานๆ และไม่ออกกำลังกาย หรืออาจเกิดจากอุบัติเหตุ วิธีการรักษา ให้หายขาดคือการผ่าตัด ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะปฏิเสธการรักษาเนื่องจากความกลัวและกังวล ถึงผลกระทบหลังการผ่าตัด และเลือกที่จะทนกับความเจ็บป่วยอยู่อย่างนั้นเป็นปีๆ

หากพูดถึงการผ่าตัดกระดูกสันหลังนั้นฟังดูเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบประสาทที่มีความซับซ้อนและต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์ผู้รักษาเป็นอย่างสูง ความผิดพลาดเพียงนิดอาจหมายถึงความผิดปกติทางร่างกายที่อาจเกิดขึ้นหลังการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์ที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นทำให้การผ่าตัดโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังและระบบประสาทไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอย่างที่คิดอีกต่อไป นพ.ธีรศักดิ์ พื้นงาม แพทย์หัวหน้าศูนย์ศัลยกรรมสมองและไขสันหลัง (Mini Spine Center) โรงพยาบาลพญาไท 2 อินเตอร์เนชันแนล จะมาให้ความรู้ว่าเหตุใดเราจึงไม่ต้องกลัวฝันร้ายจากการผ่าตัดกระดูกสันหลังอีกแล้ว
ความรู้ว่าเหตุใดเราจึงไม่ต้องกลัวฝันร้ายจากการผ่าตัดกระดูกสันหลังอีกแล้ว “การแพทย์ของเราทุกวันนี้ก้าวหน้าไปมากย้อนไปเมื่อ 20 ปีที่แล้วเป็นการผ่าตัดแบบดั้งเดิมซึ่งใช้เวลานานและผู้ป่วยต้องการการพักฟื้นนานและมีความเสี่ยงสูง ต่อมามีการนำกล้องขยายมาใช้เพื่อเพิ่มความแม่นยำและปลอดภัยเป็นการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง  แต่แผลผ่าตัดก็ยังมีขนาดใหญ่และผู้ป่วยก็ยังต้องพักฟื้นเป็นเวลานาน  ผ่านมาอีกระยะหนึ่ง ผมก็ได้ริเริ่มนำเทคโนโลยี Navigator มาใช้กับการผ่าตัดสมองโดยเฉพาะเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งทำให้การผ่าตัดทำได้อย่างแม่นยำและปลอดภัยสูง และไม่จำเป็นต้องเปิดแผลผ่าตัดขนาดใหญ่อีกด้วย ต่อมามีการใช้เครื่องมือเอนโดสโคปหรือการผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการผ่าตัดแผลเล็ก ผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องหรือที่ภาษาแพทย์เรียกว่า Minimally Invasive Surgery
การผ่าตัดแบบ Minimally Invasive หรือที่คุณหมอธีรศักดิ์เรียกในสไตล์ของตัวเองว่า การผ่าตัดแบบ “มินิ” (Mini) คือรูปแบบการผ่าตัดที่ช่วยลดผลกระทบและอาการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในน้อยที่สุด มีความแม่นยำและปลอดภัยสูง โดยแผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก และผู้ป่วยใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1 คืนหรือน้อยกว่าก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้เป็นปกติ  คุณหมอธีรศักดิ์อธิบายต่อว่า “ก่อนผ่าตัดจะมีการสำรวจตำแหน่งที่ต้องการผ่าอย่างละเอียด การผ่าตัดจะทำโดยการเจาะผิวหนังบริเวณที่จะทำการรักษาเป็นรูขนาดเล็กๆ เพื่อสอดใส่กล้องและเครื่องมือผ่าตัดลงไปเพื่อทำการผ่าตัด ซึ่งรอยแผลจะมีขนาดเล็กตั้งแต่ 0.5 มล. – 3 ซม. เท่านั้น โดยเราไม่จำเป็นต้องใช้ยาสลบกับผู้ป่วย เพียงแค่ใช้ยาชาก็ทำการผ่าตัดได้ ในกรณีนี้ก็สามารถลดความเสี่ยงที่เกิดอันตรายจากใช้ยาสลบกับผู้ป่วยได้อีกทางหนึ่งด้วย”
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ระบบประสาทไขสันหลัง รพ. พญาไท 2 อินเตอร์เนชันแนล โทร. 0-2617-2444 ต่อ 4484, 7451 หรือ www.phyathai.com

แขนขาอ่อนแรง รู้ตัวอีกทีอาจเป็นอัมพาตระยะสุดท้าย

หากใครรู้สึกว่าตนเองมีอาการแขนขาอ่อนแรง อย่าชะล่าใจเพราะนั่นเป็นสัญญาณของโรคกระดูกคอเสื่อมโดยไม่รู้ตัว บางรายมาพบแพทย์เพราะไม่สามารถใช้มือทำงานละเอียดอ่อนได้เหมือนเดิม เช่น การเซ็นชื่อเขียนหนังสือ การเล่นดนตรี หรือการติดกระดุม เป็นต้น

โรคกระดูกคอเสื่อมเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ส่วนมากเกิดจากอิริยาบถหรือท่าที่ผิดสุขลักษณะ เช่น การหนุนหมอนสูงเกินไป การทำงานในท่าเดียวนาน ๆ นั่งเขียนหนังสือ นั่งดูเอกสาร นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ นั่งดูทีวี เป็นต้น

อาการแสดง

  • อาการที่คอ - ปวดคอ บ่า หรือไหล่เรื้อรัง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปจนถึงบริเวณท้ายทอยได้
  • อาการที่แขน - อาการแสดงที่แขนมีได้ 3 แบบ คือ อาการปวด ชา หรือการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ อาการแสดงที่แขนนี้เกิดจากการที่เส้นประสาทสันหลังส่วนคอถูกรบกวน ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหรือชาลงมาตามบริเวณแขน ข้อศอก หรือนิ้วมือได้ การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อก็มีลักษณะคล้ายอาการปวดและชา คือจะมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อมัดที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทเส้นที่ถูกกดทับ
  • อาการที่ขา - หากมีการกดทับของไขสันหลังมักไม่มีอาการปวด แต่อาการจะแสดงออกในลักษณะการเดินที่ผิดปกติ เช่น ขาตึงผิดปกติ รู้สึกโคลงเคลงเหมือนล้มง่าย เดินก้าวสั้น เดินตามคนอื่นไม่ทัน ผู้ป่วยบางรายอธิบายว่าเดินเหมือนขาเป็นตะเกียบ หรือเดินเหมือนหุ่นยนต์ อาการเหล่านี้หากทิ้งไว้นานอาการอาจแย่ลงจนมีกล้ามเนื้อลีบจนกระทั่งไม่สามารถเดินได้ในที่สุด

การรักษาอาการแขนขาอ่อนแรงจากโรคกระดูกคอเสื่อม

  • กายภาพบำบัด
  • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
  • การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังส่วนคอ
  • การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียมบริเวณคอ
แขนขาอ่อนแรง

นวัตกรรมการรักษาโรคกระดูกคอเสื่อม โดยการผ่าตัดผ่านกล้อง

ในกรณีที่หมอนรองกระดูกเสื่อมรุนแรง มีอาการปวดคอเรื้อรัง หรืออาการของระบบประสาทเกิดขึ้น การรักษาโดยการผ่าตัดผ่านกล้องไม่ ว่าจะเป็นการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกหรือการผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูก จะช่วยลดอาการและแก้ไขปัญหาของระบบประสาทไขสันหลัง ก่อนที่จะเกิดความเสียหายถาวรได้

ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้อง

  • ปลอดภัยสูง เนื่องจากในการผ่าตัดแพทย์สามารถมองเห็นเส้นประสาทได้อย่างชัดเจน
  • ลดความเสี่ยงของการเกิด อัมพฤกษ์ หรือ อัมพาต หลังการผ่าตัด ลดความเสียหายของเนื้อเยื่อข้างเคียง ฟื้นตัวได้เร็ว

วิธีการป้องกันและการดูแลตนเองจากอาการแขนขาอ่อนแรงที่เสี่ยงให้เกิดโรคกระดูกคอเสื่อม

  • เมื่อทำงานอยู่ในท่าเดียวนานๆ ควรลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ
  • ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดแน่นเกินไป
  • ไม่ควรนอนฟูกนิ่มเกินไป ความสูงของหมอนควรพอเหมาะกับคอเพื่อลดการทำงานของคอ อาจใช้หมอนใบเล็กๆ รองใต้บริเวณคอร่วมด้วย
  • บริเวณคอควรได้รับความอบอุ่น ไม่ควรตากแอร์ ตากลมตรงๆ
  • ปรับระยะตัวหนังสือที่ต้องอ่านประจำให้อยู่ระดับสายตา เพื่อป้องกันการเกิดคอเคล็ด
  • ใช้แว่นตาให้เหมาะสมกับสายตา เพื่อป้องกันการขยับคอบ่อยๆ ขณะทำงานและป้องกันการเกิดคอเคล็ด
  • ไม่ว่าในท่าเดินหรือท่ายืน ศีรษะก็ควรจะอยู่ตั้งตรงบนลำตัว ไม่ควรก้มศีรษะลง
  • การโน้มศีรษะลงขณะอ่านหนังสือจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอทำงานมากกว่าปกติควรจะยกหนังสือให้ตั้งขึ้นได้ระดับสายตา อาจวางตั้งบนกองหนังสือหรือกล่องก็ได้ ขณะขับรถควรเคลื่อนลำตัวให้ใกล้พวงมาลัย
  • ไม่ควรสัปหงกขณะนั่งรถ เพื่อป้องกันการเกิดคอเคล็ด
  • การนวดอย่างนิ่มนวลอาจช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณคอ
  • การใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบอาจช่วยลดอาการปวดคอได้ แต่ถ้าจะให้ได้ผลที่ดีกว่า ควรประคบแบบเปียกด้วยผ้าชุบน้ำร้อน
การพบแพทย์ตั้งแต่ยังมีอาการเริ่มแรกจะทำให้ง่ายต่อการรักษา และมีโอกาสที่จะหายและกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสูงขึ้น หากรู้สึกว่ามีอาการที่กล่าวไปข้างต้นควรรีบเข้าไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญ

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแบบแผลเล็ก



การผ่าตัดหมอนรองกระดูก

หมอนรองกระดูกเป็นอวัยวะที่คั่นอยู่ระหว่างข้อของกระดูกสันหลังแต่ละข้อมีลักษณะเหนียวและยืดหยุ่น โดยหมอนรองกระดูกนั้นมีหน้าที่รองรับแรงกระแทกและรับน้ำหนักของร่างกาย ซึ่งหากหมอนรองกระดูกเกิดเสื่อม ปริ แตก นูนหรือปลิ้น ไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลังหรือตำแหน่งใกล้เคียงก็จะทำให้เกิดอาการปวดตามมาได้

สาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อม



สาเหตุของการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังมี 2 สาเหตุหลักๆ ซึ่งได้แก่
  1. การเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังตามกาลเวลา
  2. การเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังอันเกิดจากอุบัติเหตุที่รุนแรง

การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลัง

1.นวัตกรรมการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแบบแผลเล็กด้วยกล้องขยายกำลังสูง (Microscopic Discectomy)
การรักษาด้วยวิธีนี้แพทย์จะทำการผ่าตัดหมอนรองกระดูกคนไข้ร่วมกับการใช้กล้องขยาย Microscopic ซึ่งเป็นกล้องที่มีกำลังการขยายสูง แพทย์จึงสามารถมองเห็นระบบประสาทภายในร่างกายของคนไข้ได้อย่างชัดเจน ส่งผลทำให้รักษาคนไข้ได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิผลสูงสุด แผลมีขนาดเล็กเพียงแค่ 2.5 เซนติเมตรเท่านั้น การรักษาด้วยวิธีนี้คนไข้จะใช้เวลาในการพักฟื้นอยู่ที่ รพ.เพียงแค่ 1 คืนเท่านั้น

2.นวัตกรรมการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแบบผ่านกล้อง (Endroscopic Discectomy)
การรักษาด้วยวิธีนี้แพทย์จะทำการผ่าตัดหมอนรองกระดูกเพื่อเปิดแผลที่ข้างลำตัวของคนไข้ใกล้ๆ กับบริเวณจุดที่เป็นสาเหตุของอาการปวด โดยแผลที่เปิดนั้นจะมีขนาดประมาณ 8 มิลลิเมตร จากนั้นแพทย์จะนำกล้อง Endroscopic ซึ่งมีลักษณะเป็นทรงกระบอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดประมาณ 6 มิลลิเมตรสอดผ่านปากแผลเข้าไปยังจุดที่เป็นสาเหตุของอาการปวดและทำการผ่าตัดรักษาโดยมองผ่านจอภาพที่แสดงผลมาจากกล้อง Endroscopic วิธีการผ่าตัดในรูปแบบนี้คนไข้จะใช้เวลาในการพักฟื้นอยู่ที่ รพ.เพียงแค่ 1 เท่านั้น

3.วิธีการผ่าตัดที่กล่าวมาข้างต้นทั้ง 2 วิธีนี้ จะรักษาได้ผลดีมากเมื่อใช้เลเซอร์เข้ามาช่วยในการทำผ่าตัด แต่เลเซอร์นี้ต้องเป็นชนิดเฉพาะที่ใช้สำหรับการรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังเท่านั้น
เลเซอร์ คือ รังสีที่สามารถให้พลังงานความร้อนสูง การใช้เลเซอร์ในการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนั้น แพทย์จะทำการใช้เลเซอร์ยิงไปยังหมอนรองกระดูกที่เสื่อมและปลิ้นออกมากดทับที่เส้นประสาทไขสันหลัง ความร้อนจากเลเซอร์จะค่อยๆ สลายหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นออกมาให้หดกลับเข้าไปยังข้อกระดูกสันหลัง วิธีการผ่าตัดรักษาด้วยเลเซอร์นี้จะช่วยลดความเสี่ยงในระหว่างการผ่าตัดได้เป็นอย่างดี




กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ระหว่างตั้งครรภ์จะทำยังไง

กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ระหว่างตั้งครรภ์จะทำยังไง

ชีวิตของผู้หญิงการมีลูกคือ ความฝันที่สวยงาม แต่ชีวิตจริงย่อมมีทั้งสุขและอุปสรรคผสมกันไป คุณน้ำอ้อย ศรีปัญญาพล ว่าที่คุณแม่ก็เช่นเดียวกัน การตั้งครรภ์ลูกคนที่ 2 ดูจะปกติดี แต่เวลาเพียงข้ามคืนความเจ็บปวดก็โถมกระหน่ำอย่างไม่ทันตั้งตัว และเมื่อทราบว่าเป็น หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท จะรักษาอย่างไรแล้วลูกน้อยละจะทำเป็นเช่นไรไปฟังเรื่องราวจากเธอพร้อมๆ กัน 


ดิฉันกำลังตั้งครรภ์บุตรคนที่ 2 ซึ่งแข็งแรงและปกติดีมาตลอด จนเข้าสู่อายุครรภ์ 22 สัปดาห์ ในวันที่ 19 มีนาคม 2557เกิดอาการผิดปกติขึ้นกับตนเอง รู้สึกตึงๆ ปวดบริเวณสะโพกและขาด้านขวา แต่ก็ไม่คิดอะไรมาก พอวันที่ 20 มีนาคม ก็มีอาการปวดมากขึ้น ไม่สามารถเดินได้เลย ในวันที่ 21 มีนาคม สามีจึงพาไปพบคุณหมอที่โรงพยาบาลในจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณหมอตรวจร่างกายเบื้องต้นและสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แต่แจ้งว่าไม่สามารถทำอะไรได้ทั้งการเอ็กซเรย์และให้ยา ทำได้เพียงรับประทานยาแก้ปวดทั่วไป เพราะตั้งครรภ์อยู่จะมีอันตรายกับเด็ก ในวินาทีนั้นดิฉันทำอะไรไม่ถูกเลย เพราะอาการปวดมากมายเหลือที่จะกล่าว แต่สิ่งที่ทำได้คือเพียงนอนโรงพยาบาล 7 วัน และต้องกลับไปนอนปวดที่บ้านพร้อมยาแก้ปวดเท่านั้นหรือ

การตัดสินใจครั้งยิ่งใหญ่ ผ่าตัดกระดูกสันหลัง..ขณะมีลูกน้อยอยู่ในครรภ์


เชื่อหรือไม่คะ? การผ่าตัดกระดูกสันหลังปลิ้นทับเส้นประสาทของดิฉันในครั้งนี้ ถือเป็นการตัดสินใจที่ยิ่งใหญ่อย่างหาสิ่งใดเปรียบไม่ได้เลย เพราะเป็นเรื่องความเป็นความตายของคนสองคน สำหรับตัวเองนั้นไม่กังวลเท่ากับอีก 1 ชีวิตที่อยู่ในท้อง เพราะเป็นที่ทราบดีว่าคนท้องแม้จะรับประทานยายังต้องระวังอย่างมาก แต่ดิฉันกำลังจะเข้าผ่าตัดในขณะที่ลูกในท้อง 22 สัปดาห์ อีกทั้งต้องนอนคว่ำหน้าเพื่อผ่าตัดอีกด้วย แต่ในวินาทีนั้น เชื่อมั่นเหลือเกินว่านอกจากดิฉันที่ต้องตัดสินใจแล้ว คุณหมอธีรชัยและคุณหมอชาญชัย ก็ต้องตัดสินใจอย่างมากเช่นเดียวกัน เพราะจากที่ทราบการเกิดโรคนี้ในคนท้องและต้องผ่าตัดในประเทศไทยมีน้อยมาก แต่การตัดสินใจของเราทุกๆ คนก็ถูกต้องที่สุด 

อ่านต่อที่นี้ เนื่อหายาวมากไม่สามารถเอามาลงทั้งหมดได้คะ http://www.phyathai.com/testimonial_detail/27/th