วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เมื่อคนใช้ iPhone มาจับ S6 ครั้งแรก S6 & s6 edge pantipขอรีวิว


ไหนๆ ก็ได้เครื่องมาก่อนชาวบ้าน อยากลองตั้งกระทู้ซะหน่อย (รู้ว่ากระทู้ S6 pantip รีวิว มีเยอะแล้ว แต่ขอหน่อยนะ นะ) อันนี้ไม่ใช่รีวิวแกะเครื่องนะครับ เค้าทำกันเยอะแล้ว แต่ผมขอไล่ตามที่ผมได้ใช้งานมาละกัน สรุปออกมาได้ประเด็นออกมา 7 ข้อถ้วน เชิญรับชมครับ 

1. หน้าตาและวัสดุ 
สมาร์ทโฟนพรีเมี่ยม อะไรๆ ก็ต้องพรีเมี่ยม ตั้งแต่ประสบการณ์ใช้งานที่มาเป็นอันดับแรก ประสิทธิภาพ ความลื่น เร็ว แรง (หลายคนรวมถึงความเป็นหน้าเป็นตาในสังคมด้วย) แต่ก่อนจะไปถึงเรื่องพวกนั้น สิ่งแรกที่ผมชอบใน S6 และ s6 edge pantip คือเรื่อง “การออกแบบ และวัสดุ” ครับ 

แนวทางการออกแบบของ Samsung ในที่สุดก็ทันชาวบ้านเค้าตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว พลาสติกมาตั้งนาน เป็นโลหะซะที ตอนที่ได้เห็นและจับ S6 ครั้งแรก รู้สึกลึกๆ ว่ามันคล้ายกับ iPhone 4/4s ที่เป็นกระจกหน้า/หลัง และล้อมกรอบด้วยโลหะ แต่ถ้าดูดีๆ ก็แตกต่างเพราะมีส่วนเว้าโค้ง มากกว่าพอสมควร และล่าสุดเปลี่ยนมาใช้ Nano SIM แล้ว น้ำตาจะไหล T_T (ทันชาวบ้านเค้าซะที) 
อ่านต่อฉบับเต็ม http://pantip.com/topic/33570227

อยู่ๆก็ปวดศีรษะ ปวดหัวข้างเดียว เป็นไมเกรน( migrain) หรือเปล่านะ

ไมเกรน (Migraine)

เส้นทางแห่งความปวด
ด้วยเทคโนโลยีการสร้างภาพทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเห็นภาพของสมองคนเป็นๆ ขณะเกิดไมเกรนได้ แม้ว่าจะยังไม่ทราบรายละเอียดทุกแง่มุม แต่ข้อมูลเท่าที่มีก็ทำให้เราเข้าใจกระบวนการเกิดไมเกรนได้กระจ่างแล้ว
1. สิ่งกระตุ้น
กระตุ้นที่อาจเป็นอะไรก็ได้สามารถกระตุ้นกระบวนการเกิดไมเกรนได้ แต่ในคนส่วนใหญ่แล้ว ตัวกระตุ้นอาจจะมาในรูปแบบของการผสมผสานของปัจจัยหลายอย่างค่อย ๆ สะสมผ่านกาลเวลาจนกลายเป็นตัวกระตุ้นเฉพาะบุคคล ปัจจัยเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยจากภายใน เช่น ฮอร์โมน ความเคียด อดนอน หรือ เป็นปัจจัยจากภายนอก เช่น อากาศเปลี่ยน แพ้อาหาร เป็นต้น

2. ศูนย์ควบคุม 
ตัวกระตุ้นไมเกรนจะมุ่งหน้าไปรวมกันที่สมองส่วนไฮโปทาลามัส ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนหลายชนิด ควบคุมการนอนหลับ และความหิว อาการพ่วงของไมเกรน เช่น อาการคลื่นเหียน อาเจียน นั้นเป็นผลมาจากสัญญาณที่ส่งจากไฮโปทาลามัสไปยังระบบประสาทที่เป็นต้นกำเนิดไมเกรน

3. ต้นกำเนิดไมเกรน
ไฮโปทาลามัสจะส่งสัญญาณไปยังก้านสมองส่วนบนที่เป็นที่อยู่ของระบบประสาท trigeminal ระบบประสาทนี้เป็นโครงข่ายใยประสาทขนาดใหญ่ ที่มีกิ่งก้านสาขาครอบคลุมไปทั่วทั้งสมอง ไม่ผิดอะไรกับหมวกนิรภัย เมื่อระบบประสาทนี้ถูกกระตุ้น กระบวนการไมเกรนก็เริ่มต้น

4. ปวดหัว 
อาการปวดหัวที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะหลอดเลือดที่เยี่อหุ้มสมองส่วนนอกขยายตัวออก และเส้นประสาทที่อยู่บริเวณเดียวกันก็รับสัญญาณความเจ็บปวดไป เมื่อเส้นประสาทถูกกระตุ้น มันก็จะหลั่งสารที่กระตุ้นให้ตัวรับสัญญาณคามเจ็บปวดทำงาน และทำให้หลอดเลือดขยายตัวมากขึ้นอีก
ออรา
ในผู้ป่วยบางราย ระบบประสาทเกี่ยวกับการมองเห็น และระบบรับสัญญาณความรู้สึกอื่น ๆ จะก่อสัญญาณไฟฟ้าแล่นเป็นคลื่นไปทั่วสมอง ยอดคลื่นนี้ไปบิดเบือนสัญญาณที่ส่งไปยังประสาทการมองเห็น ผลที่ได้ก็คือ ผู้ป่วยหลายรายเห็นภาพแสงสว่างเป็นแฉกวาบขึ้นมาก่อนที่อาการปวดจะเกิดขึ้น
Migraine
ไมเกรนมาจากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งมีรากศัพท์จากภาษากรีกโบราณ “Hemicrania” แปลว่า ปวดศีรษะครึ่งซีกนั่นเอง 

ปวดแบบไหนจึงจะเรียกว่าปวดศีรษะไมเกรน?

อาการปวดศีรษะไมเกรนตามเกณฑ์ของ International Headache Society (1988) ได้แก่ มีอาการปวดศีรษะนาน 4-72 ชม. หากไม่ได้รักษา หรือ นอนหลับ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน และทนต่อแสงจ้า หรือ เสียงดังไม่ได้ อาการปวดมีลักษณะอย่างน้อย 2 ข้อดังต่อไปนี้
• ปวดตุ้บๆ
• ปวดซีกเดียวบริเวณขมับหรือท้ายทอย
• ปวดปานกลางไปจนถึงทำงานไม่ไหว
• กิจกรรมทั่วไป เช่น การเดิน ขยับศีรษะทำให้ปวดไมเกรนมากขึ้น
บางรายจะมีอาการนำ (aura) ซึ่งเกิดก่อนหรือพร้อมกันกับไมเกรนได้ สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด สมมุติฐานว่าอาจจะเกิดจากการแพร่กระจายของคลื่นจากก้านสมองไปยังสมองใหญ่ ส่วนใหญ่จะเป็นอาการทางตา เช่น มีแสงซิกแซก หรือแสงหิ่งห้อย ประมาณ 10 นาที ก่อนจะปวดศีรษะตาม
ถ้าปวดศีรษะไมเกรนบ่อย ๆ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร?

ข้อแรก คือ ต้องสังเกตว่ามีตัวกระตุ้นอะไรบ้างที่ทำให้ปวดศีรษะไมเกรน ได้แก่ การอดนอน หรือ นอนมากเกินไป (เช่น ปวดไมเกรน ในเช้าวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์) , ตากแดด, หรือ มองแสงจ้านานๆ โดยเฉพาะการขับรถทางไกล, อากาศร้อน, เหนื่อยมาก, การอดอาหาร, อาหารบางชนิดเช่น ไส้กรอก (มีดินประสิว –nitrate), ไวน์ อาหารจีน ซึ่งมีผงชูรสปริมาณมาก, ในผู้หญิงมักจะปวดก่อน หรือ ขณะมีประจำเดือน 2-3 วันแรก (อธิบายจากระดับฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงไป) เมื่อทราบปัจจัยที่กระตุ้นให้ปวดแล้วการหลีกเลี่ยงจะช่วยทำให้ลดความถี่ในการปวดได้มาก การพักผ่อนและรับประทานอาหารให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เหนื่อยเกินไป

ข้อต่อมา เมื่อเริ่มมีอาการปวดไมเกรน ควรหยุดพักในห้องที่มืดอากาศเย็นและเงียบสงบ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 10-20 นาที ควรรับประทานยาแก้ปวด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะพยายามไม่ทานยา เพราะเกรงว่าจะทานยามากไป ซึ่งเมื่ออาการปวดมากขึ้น ยาแก้ปวดธรรมดาจะคุมไมเกรนไม่ได้ และต้องมา รพ.ในท้ายสุด ดังนั้น การทานยา แต่แรกจะช่วยลดการใช้ยาปริมาณมากในภายหลัง ยาที่ควรใช้ได้แก่ ยาแก้อาเจียน (motilium, plasi) ยาแก้ปวดกลุ่มพารา หรือ NSAID (ponstan, brufen) และยาไมเกรน โดยตรง (cafergot, sumatriptans**ยากลุ่มใหม่ที่ได้ผลดีมาก) ผลข้างเคียงอาจจะมีอาการใจสั่น ตัวชา คล้ายกับทานกาแฟ หรือมีปวดตามกล้ามเนื้อมากในบางราย

ข้อสุดท้าย ถ้ามีอาการมากกว่า 2 ครั้งต่อเดือน หรือ ต้องหยุดงาน/ขาดเรียน จากไมเกรน ควรทานยาป้องกัน ซึ่งจะช่วยลดความไวของหลอดเลือด ยาในกลุ่มนี้ได้ B-Blocker (propanolol), sibelium, tryptanol การจดบันทึก (migraine diary) ช่วยให้ผู้ป่วยและแพทย์ทราบถึงอาการปวด, ตัวกระตุ้น, การตอบสนองต่อยา และวางแผนการรักษาร่วมกันได้ดีขึ้น

ที่มา: 
http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/5/87/th

พัฒนาการในเด็ก ที่ครอบครัวควรใส่ใจตั้งแต่แรกเกิด

พัฒนาการของเด็กวัยแรกเกิด - 1 ปี

เด็กวัยแรกเกิด - 1 ปี จะเรียนรู้จากการมองเห็น การได้ยินและการสัมผัส เด็กจะสนใจวัตถุที่ยื่นเข้ามาใกล้ วัตถุที่เคลื่อนไหว วัตถุสีสดใส เด็กมีพัฒนาการจากนอนหงาย ต่อมาสามารถพลิกคว่ำ นั่ง เกาะยืน ตั้งไข่ เดินได้ วิธีการส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการในเด็กที่ดีคือการที่พ่อแม่อุ้มเด็กให้มองสบตา พูดคุย ร้องเพลง หาของสีสดใสให้มองดู พูดบอกเวลาทำอะไรกับตัวเขา  เอียงหน้าไปมาช้าๆให้ลูกมองตาม กระตุ้นให้เอื้อมมือคว้าของ หัดให้เปลี่ยนมือถือของ  อ่านหนังสือนิทานให้เด็กฟัง  พูดคุยเรียกชื่อเด็กเพื่อให้รู้จักชื่อตนเอง สอนให้รู้จัก พ่อ แม่ และบอกชื่อสิ่งของต่างๆ การพูดให้เด็กฟังต้องพูดช้าๆ ชัดเจน และบ่อยๆ โดยกระตุ้นให้เด็กมองปาก  ทำท่าทางต่างๆให้เด็กเลียนแบบ   หัดให้เด็กหยิบอาหารกินเอง บอกเด็กทุกครั้งเมื่อทำหรือเล่นในสิ่งที่ไม่ควร หลอกล่อให้เด็กสนุกกับการเคลื่อนไหว

พัฒนาการของเด็กวัย 1 - 2 ปี

เด็กวัย 1 - 2 ปี จะเป็นวัยที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ชอบเล่นเชิงสำรวจ และชอบการเลียนแบบ  เด็กสามารถเดินได้เอง วิ่ง เตะบอล เกาะราวขึ้น / ลงบัน ได ขีดเขียนเส้นยุ่งๆลงบนกระดาษได้ ใช้นิ้วมือได้คล่องขึ้น พูดเป็นคำ ๆ ตอบคำถาม”นี่อะไรได้”ได้ ทำตามคำสั่งได้ ที่ 2ปีพูด2พยางค์ วางรูปทรง เรขาคณิตที่มีรูปวงกลม สี่เหลี่ยมจัตุรัส  และสามเหลี่ยมได้ วิธีการส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีโดย เล่นกับลูก เล่นเลียนแบบ อ่านหนังสือนิทานประกอบภาพให้เด็กฟัง ร้องเพลงเด็กที่ใช้คําพูดง่ายๆ ให้เด็กฟังบ่อยๆให้ขีดเขียน ต่อก้อนไม้ ตักข้าวกินเอง กินน้ำจากแก้ว ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง เช่น ถอดกางเกง เป็นตัวอย่างสอนให้ลูกเลียนแบบท่าทางต่างๆ เช่น ไหว้ โบกมือ หอมแก้ม และชมเชยเมื่อลูกทำได้ สิ่งที่ลูกไม่ควรทำ ให้บอกลูกทุกครั้ง

พัฒนาการของเด็กวัย 2 - 3 ปี

เด็กวัย 2-3 ปี จะเป็นเด็กช่างสงสัย เต็มไปด้วยคำถาม ชอบเฝ้าดู สังเกตและเลียนแบบ มีความสนใจในการฝึกทักษะ ชอบทำกิจกรรมซ้ำๆ   เด็กชอบขีดเขียนเป็นเส้นยาว วงกลม  กระโดดอยู่กับที่ได้   เลือกรูปภาพตามสั่งได้ พูดเป็นประโยคโดยใช้คำ3-5 คำ เล่นสมมติ รู้จักรอคอย ไม่ร้องไห้เมื่อแยกจากแม่   สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือหมั่นพูดคุยด้วยคำพูดที่ชัดเจน และตอบคำถาม ของลูก โดยไม่ดุ หรือแสดงความรำคาญ สนับสนุนให้พูด เล่าเรื่อง ร้องเพลง ขีดเขียน หาของที่มีรูปร่าง และ ขนาดต่างๆ ให้ลูกเล่น หัดเล่นสมมติ สอนให้เด็กพูดบอกความต้องการ  หรือบอกปฏิเสธ อ่านหนังสือให้เด็กฟัง โดยมีภาพประกอบ มีการสนทนาซักถามโต้ตอบ พ่อแม่ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดี และอบรมสั่งสอนลูก ด้วยเหตุผลง่ายๆ  สอนลูกให้รู้จัก ทักทาย ขอบคุณ และขอโทษ ในเวลาที่เหมาะสม  

พัฒนาการของเด็กวัย 3-4 ปี

เด็กวัย 3-4 ปี ชอบลองของใหม่และสิ่งแปลกใหม่ เด็กสามารถเดินขึ้นลงบันไดสลับเท้า ขว้างและรับลูกบอลขนาดเล็ก  ถีบจักรยาน 3 ล้อได้ วาดรูปคนที่มีส่วนของร่างกายอย่างน้อย 3 ส่วน รู้ขนาดใหญ่และเล็ก ตอบคำถามง่ายๆ ได้โดยการพูดหรือชี้ในขณะฟังนิทาน  ร้องเพลงง่ายๆ ได้ บอกชื่อจริง นามสกุลเต็มของตนเองได้ พูดคำที่มีความหมายตรงข้ามได้   บอกเพศของตนเองได้ ช่วยงานง่ายๆ ได้ ถอดกระดุมเม็ดใหญ่ได้ สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ  เล่นทาย “อะไรเอ่ย” กับลูกบ่อยๆ ฝึกหัดนับสิ่งของ และหยิบของตามจำนวน 1-5 ชิ้น  ฝึกให้สังเกต เปรียบเทียบ สิ่งที่แตกต่างกัน และจัดกลุ่ม สิ่งที่เหมือนกัน  หัดเล่าเรื่องจากภาพ คุย ซักถามเรื่องที่เล่า ฝึกให้ลูกใส่เสื้อผ้า ติดและกลัดกระดุม รูดซิป สวมรองเท้า พ่อแม่และคนในครอบครัว ควรทำกิจกรรมหลายๆ อย่างไปพร้อมกับเด็ก เพื่อคอยกระตุ้นพัฒนาการในเด็กและฝึกทักษะในด้านต่างๆ ให้แก่เด็ก

พัฒนาการของเด็กวัย 4-5 ปี

เป็นวัยที่มีการพัฒนาทักษะในการรับรู้ทางความคิด สติปัญญา และความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น  เด็กสามารถประกอบชิ้นส่วนของรูปภาพที่ตัดออกเป็นส่วนๆ 8 ชิ้นได้ สามารถเลือกอันดับแรกและอันดับสุดท้าย ตอบคําถามได้ถูกต้องเมื่อถามว่า “ถ้ารู้สึกร้อน ไม่สบาย หิว” จะทําอย่างไร  สามารถทําความสะอาดตนเองหลังจากอุจจาระได้

เด็กสามารถจับดินสอได้ถูกต้อง เด็กจะเริ่มคิด เริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ และชอบถามคำถามบ่อยๆ พ่อ แม่ ควรตอบสั้นๆ ง่ายๆ ให้เด็ก เข้าใจทุกครั้ง และอาจตั้งคำถามเพื่อถามเด็กตามความสนใจของเด็ก โดยใช้คำถามปลายเปิด ช่วยขยายความคำตอบของเด็ก ชมเชยเมื่อเด็กตอบได้ดี

เด็กวัยแรกเกิด - 5 ปี

เป็นช่วงวัยที่สำคัญยิ่ง ดังนั้น ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลเด็กจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจในพัฒนาการของเด็ก การส่งเสริมพัฒนาการในเด็กวัยแรกเกิด - 5 ปี สามารถช่วยส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัย และสามารถช่วยเสริมสร้างความผูกพันระหว่างเด็กกับผู้ปกครองซึ่งถือว่าเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็ก ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีการพัฒนาทั้งไอคิวและอีคิว เติบโตเป็นผู้
ศูนย์สุขภาพเด็ก :http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/13/861/th
โรงพยาบาลพญาไท 2 อินเตอร์เนชันแนล
เปิดทำการ วันจันทร์ – อาทิตย์ 6.00 – 20.00 น.
Call Center 1772

โรคใดที่หายได้โดยการรักษาด้วยการผ่าตัดสมอง?

โรคใดที่สามารถทำการรักษาด้วยการผ่าตัดสมอง?


โรคที่เกี่ยวข้องกับสมอง โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือ โรคหลอดเลือดทางสมองแตก โรคเนื้องอกในสมอง , ฝีในสมอง  หรือการติดเชื้อในสมอง , อุบัติเหตุที่ทำให้สมองมีเลือดออก , บวมช้ำ

การผ่าตัดสมองแบบ Minimally Invasive Neurosurgery คืออะไร?

การผ่าตัดผ่านกล้องจะทำโดยการเจาะผิวหนังบริเวณที่จะทำการรักษาเป็นรูขนาดเล็ก เพื่อสอดใส่กล้องขนาดเล็ก เครื่องมือผ่าตัดลงไปเพื่อทำการผ่าตัด ซึ่งรอยแผลจะมีขนาดเล็กประมาณ 1-2 ซม หรือขนาด 3-4 ซม. ในบางราย  เพื่อให้ภาพที่ชัดเจนและลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในน้อย ลดโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ผู้ป่วยใช้ระยะเวลาพักฟื้นไม่นาน แผลเล็ก เจ็บน้อยโดยจะใช้เครื่องมือในการช่วยในการผ่าตัด ได้แก่

  • Microscope กล้องผ่าตัดที่มีกำลังขยายสูง และมีลำแสงที่สามารถส่งลงไปในจุดที่ลึกๆได้ จึงให้รายละเอียดในการผ่าตัดที่สูงขึ้น
  • Endoscope กล้องที่มีลักษณะเป็นแท่ง สอดเข้าไปในบริเวณสมองที่ต้องการผ่าตัดมีความละเอียดสูงทำให้มองเห็นในจุดที่ลึกได้อย่างชัดเจน โดยเครื่องมือชนิดนี้จะเหมาะสำหรับการผ่าตัดบางอย่างเช่น การผ่าตัดระบายนำคั่งในสมอง และการผ่าตัดเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง
  • Calvitron Ultrasonic Surgical Aspiration (CUSA) เครื่องมือที่ทำหน้าที่สลายย่อยเนื้องอกที่ต้องการผ่าตัดออกให้เป็นชิ้นเล็กๆโดยใช้พลังงานจากคลื่นเสียงและดูดออกมา ซึ่งจะไม่รบกวนเนื้อสมองส่วนอื่น
  • Laser ใช้แหล่งกำเนิดแสงส่องผ่าน  Fiberoptic ขนาดเล็ก โดยศัลยแพทย์จะสอด Fiberoptic ขนานไปกับ Endoscope เพื่อตัดหรือจี้ตำแหน่งที่ต้องการ  แสง Laser นี้จะแผ่ความร้อนในรัศมี หรือความลึกไม่เกิน 1 มิลลิเมตร ซึ่งมีความปลอดภัยต่อเนื้อเยื่อข้างเคียง และช่วยในเรื่องไม่ให้มีการเสียเลือดเป็นจำนวนมากจากการผ่าตัด
  • Navigator ใช้บอกตำแหน่งต่างๆของสมอง ทำให้การผ่าตัดนั้นมีความแม่นยำและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ดีกว่าการผ่าตัดแบบเดิมอย่างไร?
  • แผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กกว่า เพียง  2.5-3 cm.  เท่านั้น 
  • สามารถมองเห็นส่วนต่างๆ ของสมองผ่านเลนส์ที่มีกำลังขยายสูง  ทำให้การผ่าตัดปลอดภัย  ไม่กระทบกระเทือนสมองส่วนอื่นๆ  เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้น้อย
  • แผลหายเร็วไม่กระทบความงามของรูปหน้า
  • ไม่ต้องโกนผมทั้งหมดเหมือนการผ่าตัดสมองในแบบเดิม
  • ปวดแผลหลังผ่าตัดน้อยกว่าทำให้ร่างกายสามารถฟื้นตัวได้เร็ว
  • ได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น
  • ระยะเวลาในการอยู่โรงพยาบาลสั้นกว่า
  • อ่านเพิ่มเติม http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/6/846/th

13วิธีเลิกบุหรี่ง่ายมากๆ รู้งี้เลิกนานแหละ

การเลิกบุหรี่ส่งผลดี ดังนี้


  1. เลิกสูบภายใน 20 นาที ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจจะลดลง
  2. เลิกสูบภายใน 12 ชั่วโมง ระดับก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ในเลือดจะลดลงสู่ระดับปกติ ปอดเริ่มขจัดเสมหะ และสารเคมีออกจากร่างกาย
  3. เลิกสูบภายใน 48 ชั่วโมง นิโคตินจะถูกขับออกจากร่างกายจนหมด การรับรู้รสและกลิ่นจะกลับเป็นปกติ
  4. เลิกสูบภายใน 2-12 สัปดาห์ ระบบไหลเวียนเลือด และการทำงานของปอดจะดีขึ้น
  5. เลิกสูบภายใน 1 ปี โอกาสเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจะลดลงครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับคนที่สูบบุหรี่
  6. เลิกสูบภายใน 5 ปี โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองจะลดลงเหลือเท่ากับคนไม่สูบบุหรี่
  7. เลิกสูบภายใน 10 ปี โอกาสเกิดมะเร็งปอดจะลดลงครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับคนที่สูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังลดโอกาสเกิดมะเร็งอื่นๆ
  8. เลิกสูบภายใน 15 ปี โอกาสเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจะลดลงเหลือเท่ากับคนที่เลิกบุหรี่
ในปัจจุบันนี้มีผู้สูบบุหรี่เพิ่มขึ้นเรื่อย และแน่นอนว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ก็มีมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยส่วนใหญ่โรคที่มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่นั้นมักจะมีความร้ายแรงของโรคถึงแก่ชีวิต ได้แก่
  • โรคมะเร็งปอด ถ้าหากแพทย์ตรวจพบเชื้อในระยะแรก และได้รับการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกได้หมด จะยังมีโอกาสหายขาดได้ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์และตรวจพบโรคในระยะที่สายเกินกว่าจะรักษาแล้ว ทำได้เพียงแค่การประคับประคองโรคและชีวิตให้อยู่กับโรคต่อไปได้นานที่สุด
  • โรคหัวใจ และหลอดเลือด เกิดจากสารพิษในบุหรี่ ทำให้หัวใจ หลอดเลือด กระเพาะอาหาร ลำไส้ และระบบประสาททำงานผิดปกติ นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังทำให้เกิดหลอดเลือดในสมองอุดตัน เป็นอัมพาต หลอดเลือดตามแขนขาอุดตัน เป็นแผลตามผิวหนังจากการขาดเลือด และมีการสะสมของไขมันตามผนังของหลอดเลือดขนาดกลางและใหญ่
  • โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และถุงลมโป่งพอง เป็นโรคที่พบบ่อยมากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และสาเหตุสำคัญที่สุดของการเกิดโรคนี้คือ การสูบบุหรี่ ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะ เหนื่อยง่าย เมื่อเป็นแล้วไม่มีทางที่จะรักษาให้หายขาดได้ หากเป็นหนักมาก จะต้องดมออกซิเจน รอความตายอย่างทรมานในระยะ สุดท้าย ถ้าเลิกสูบบุหรี่ได้ อาจทำให้อาการดีขึ้น แต่ไม่หายขาด
  • โรคแผลในกระเพาะอาหาร ในปัจจุบันพบว่า มีผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารมากขึ้นถึง 2 เท่า ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ ทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลในการหลั่งของกรดและด่างในกระเพาะอาหาร

เลิกบุหรี่ด้วยวิธีง่ายๆ ได้อย่างไร?

  • เคี้ยวหมากฝรั่งหรือลูกอมที่มีกลิ่นสดชื่น จะช่วยให้คุณได้รับรู้ถึงความสดชื่นที่ปราศจากบุหรี่
  • คุณควรฝึกหยิบปากกา หรืออะไรก็ตามแทนบุหรี่ในเวลาที่คุณอยากสูบ ถ้าคุณหยิบปากกาก็ควรหาสมุดมาเขียนถึงเหตุผล ที่คุณอยากสูบบุหรี่ด้วย
  • พยายามหาอะไรทำอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้คุณรู้สึกไม่ว่างและไม่มีเวลาหยิบบุหรี่ขึ้นมาสูบ
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แทนที่จะสูบบุหรี่หลังอาหารทันที ก็เปลี่ยนเป็นไปเดินย่อย หรือแปรงฟันแทน
  • ควรพาตัวเองไปอยู่ในสถานที่ที่ห้ามสูบบุหรี่อยู่เสมอ
  • พยายามหลีกเลี่ยงที่จะใกล้ชิดกับคนสูบบุหรี่ และไม่พาตัวเองไปอยู่ในสถานที่ที่เต็มไปด้วยควันบุหรี่
  • เขียนป้ายเตือนใจในการสูบบุหรี่ติดไว้ในที่ที่คุณสามารถมองเห็นได้ชัด และมองเห็นอยู่ตลอดเวลา
  • ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา
  • ดื่มน้ำเย็นมากๆ เพื่อทำให้คุณสดชื่นและสามารถขจัดนิโคตินให้ออกจากร่างกายได้
  • พยายามทำตัวให้กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงความเบื่อที่จะทำให้เหนื่อยง่าย
  • พักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน
  • พยายามผ่อนคลายความโกรธหรือความทุกข์ให้ได้
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
วิธีการเลิกบุหรี่นั้นมีอยู่มากมายไม่รู้กี่ข้อ แต่สุดท้ายแล้ว ขึ้นอยู่กับใจและความสมัครใจของผู้สูบบุหรี่เป็นสำคัญ ถ้าหากคนรอบข้างสนับสนุนและช่วยเหลือให้ผู้สูบบุหรี่มีกำลังใจในการเลิกบุหรี่ และได้รับคำแนะนำในการเลิกบุหรี่ของแพทย์อย่างเหมาะสม จะทำให้การเลิกบุหรี่นั้นเป็นไปได้อย่างไม่ยากเลย

แนะนำคุณหมอที่เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ หมอหัวใจเก่งๆมีผลต่อการรักษามากคุณรู้มั้ย

หมอหัวใจเก่ง มีผลต่อการรักษา


โรคหัวใจเป็นโรคที่กระทรวงสาธารณะสุขสำรวจพบว่าคนไทยมีความเสี่ยงเป็นอันดับ 1 หากผู้ป่วยนั้นได้รับการตรวจโรคหัวใจอย่างแม่นยำก็จะทำให้เกิดการรักษาที่ตรงจุด นอกจากนั้นจะต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษา เนื่องจากการรักษาโรคหัวใจนั้นมีความอันตรายและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ทุกเมื่อ

นอกจากหมอหัวใจเก่ง พญาไทยังมีติดตามการรักษาทุกขั้นตอน

ให้บริการด้านการรักษาพยาบาล และดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจทั้งด้านอายุรกรรมและศัลยกรรม ทั้งเด็กและผู้ใหญ่อย่างครบวงจร มีทีมแพทย์อายุรกรรมหัวใจและศัลยแพทย์หัวใจ ประจำตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีทีมพยาบาล ที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจโดยเฉพาะอีกด้วย และครบครันด้วยอุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย มีการนำนวัตกรรมในการผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก การผ่าตัดแบบ Off pump การปิดรูรั่วในหัวใจด้วยร่ม(โดยไม่ต้องผ่าตัด) มาใช้รักษาผู้ป่วย ส่งผลให้ผลการรักษาและการฟื้นตัวของผู้ป่วยเร็วขึ้น

ขอดีของการเข้ารับการรักษาโรคหัวใจที่พญาไท

  • ทีมหมอหัวใจเก่งมีความเชี่ยวชาญในการรักษาเฉพาะทาง
  • มีอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์อันทันสมัย
  • มีเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำ
  • มีห้องปฏิบัติการผ่าตัดหัวใจที่มีอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์อันทันสมัย
  • มีห้องสำหรับผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ (CCU) ที่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์อย่างครบครัน
  • มีแผนกผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างครบครันได้แก่ แผนกผู้ป่วยนอก แผนกตรวจสวนหัวใจ แผนกผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ แผนกผ่าตัดหัวใจ แผนกฟื้นฟูและควบคุมปัจจัยเสี่ยง
  • มีการดูแลอย่างต่อเนื่อง ให้ความอบอุ่นเสมือนครอบครัวเดียวกัน

ศูนย์หัวใจที่ดีนอกจากมีหมอหัวใจเก่งแล้วยังต้องมี 4H’s

เพราะหัวใจมีความสำคัญที่สุด จึงต้องได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด ทางโรงพยาบาลพญาไทจึงได้จัดตั้งศูนย์หัวใจ หรือ Health Heart Center ที่มีความพร้อมทางการรักษา เพื่อให้การดูแลรักษาอย่างทันท่วงที โดยโรงพยาบาลมั่นใจว่า ด้วยแนวคิด 4H’s หัวใจทุกดวงที่ก้าวเข้ามาที่ศูนย์โรคหัวใจแห่งนี้ จะได้รับการดูแลอย่างดีเยี่ยมในทุก ๆ ด้าน
  1. Heart Service  ความพร้อมเพื่อการบริการแบบฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมงเพราะอาการเฉียบพลันอันเกิดจากโรคหัวใจต้องการดูแลรักษาอย่างเร่งด่วน ศูนย์หัวใจ จึงมีบริการรถฉุกเฉินหัวใจ โดยแพทย์และพยาบาลเฉพาะทาง พร้อมอุปกรณ์การแพทย์ เช่นเครื่องช่วยหายใจ เครื่องกระตุ้นหัวใจ ทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที
    • Heart Coordinator พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง และ Heart Hotline ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวตั้งแต่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลจนถึงการฟื้นฟู รวมถึงโทรศัพท์ติดตามเยี่ยมผู้ป่วย เพื่อติดตามผล และให้ความรู้ในการดูแลตนเองและป้องกันไม่ให้กลับเป็นโรคเดิมอีก
    • Cath Lab Stand by ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization) เปิดให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ stand by เพื่อให้การรักษาคนไข้ที่มีอาการเฉียบพลัน สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ทันท่วงที คือสามารถเปิดห้องปฏิบัติการนี้ภายใน 30 นาที
  2. Heart Doctor ทีมแพทย์เฉพาะด้านหัวใจชั้นนำระดับประเทศ ที่มีความสามารถ ความเชี่ยวชาญในการป้องกันดูแลรักษาและฟื้นฟู ด้วยความพร้อมของทีมแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในการป้องกันดูแล รักษา และฟื้นฟู อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และปลอดภัย โดยเชื่อมั่นว่า ที่นี่จะก้าวสู่การเป็นศูนย์โรคหัวใจอันดับหนึ่งของเอเชีย ศูนย์หัวใจพญาไท ฮาร์ทเซ็นเตอร์ ให้ความสำคัญของการป้องกันเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ รวมถึงการให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงการออกกำลังกาย ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ยังบริการรถฉุกเฉินหัวใจ สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคหัวใจ พร้อมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อความปลอดภัยและการดูแลรักษาที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ นำทีมโดยนพ.ณัฐนันทน์ ประศาสน์สารกิจ แพทย์หัวหน้าศูนย์หัวใจพญาไท 2 และ นพ.อมร จงสถาพงษ์พันธ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการสวนหัวใจและขยายหลอดเลือดหัวใจ
  3. Heart Imaging การใช้เทคโนโลยีรังสีวิทยาในการวินิจฉัยโรค ด้วย MRI, CT-Scan, Cath Labการตรวจรักษาอวัยวะที่อยู่ด้านใน ร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจนั้น การมีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยช่วยในการตรวจวินิจฉัยโรค จะทำให้การตรวจรักษามีความแม่นยำ ในทุกขั้นตอน ซึ่งทางศูนย์โรคหัวใจพญาไท1 ได้ให้ความสำคัญในการลงทุนนำเทคโนโลยีรังสีวิทยา มาใช้ ทำให้ผู้เข้ามารับการรักษามีความสบายใน และมั่นใจมากที่สุด
  4. Heart Rehab การฟื้นฟูหัวใจ จะช่วยให้ผู้เป็นโรคหัวใจกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน ทำงานได้ตามปกติ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย  และช่วยลดภาวะเสี่ยงในผู้ทีมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
รพ.พญาไท 2 อินเตอร์เนชั่นแนล มุ่งมั่นในการให้บริการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ ด้วยการคัดสรรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์สูงในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ บวกกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องที่ผ่านการฝึกฝนมาโดยเฉพาะในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ รวมถึงกระบวนการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยอันดับต้นๆของเมืองไทยที่รองรับการรักษาคนไข้โรคหัวใจได้อย่าง มีประสิทธิภาพสูง ปลอดภัย และรวดเร็ว เพราะเราคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของคนไข้เป็นอันดับ 1

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เจ็บหน้าอก ต้องระวังอาการเริ่มต้นของเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ


การรักษาและการป้องกันการเกิดโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

สามารถป้องกันโดยการกำจัดสาเหตุ และบรรเทาการบีบรัดหัวใจจากน้ำหรือหนองในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ ทั้งนี้โดยใช้ยาฆ่าเชื้อหรือยาอื่น ๆ ที่เหมาะสม ถ้ามีน้ำหรือหนองอยู่มากพอจะเจาะออกได้ก็จำเป็นที่จะต้องเจาะออก หรือถ้าเจาะไม่ได้ ก็จำเป็นที่จะต้องผ่าตัดเอาน้ำหนอง หรือเยื่อหุ้มหัวใจออกเพื่อไม่ให้หัวใจถูกบีบรัดได้ ผู้ที่เป็นโรคนี้ จึงต้องไปหาหมอและขอรับการรักษาและขอทราบวิธีการป้องกันและการปฏิบัติจากแพทย์เชี่ยวชาญ การรักษาตัวเองในโรคหัวใจประเภทนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุและคำแนะนำของแพทย์สำหรับผู้ป่วยแต่ละคนโดยเฉพาะ

ความสำคัญของเยื่อหุ้มหัวใจ

เยื่อหุ้มหัวใจนั้นมีลักษณะบางๆ ห่อหุ้มหัวใจ แบ่งเป็นสองชั้น โดยชั้นในจะติดกับหัวใจโดนตรง ส่วนชั้นนอกจะติดกับปอดและอวัยวะอื่นๆ โดยระหว่างเยื่อหุ้มหัวใจสองชั้นนี้จะมีน้ำหล่อลื่นที่ทำหน้าที่ป้องกันห้องใจของเราไม่ให้เสียดสีหรือกระทบกระเทือนกับอวัยวะอื่นๆที่อยู่ใกล้กับหัวใจในขณะที่หัวใจบีบตัวเข้าออก

เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเกิดขึ้นได้อย่างไร?

โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหรือมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นโรคหัวใจที่เกิดจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ แล้วทำให้เกิดน้ำหนอง หรือเลือดในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ สาเหตุการเกิดเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ประกอบด้วยโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ เนื่องจาก
  • โรคที่ทำให้มีการอักเสบหลายระบบ เช่น Systemic Lupus Erythematosus (SLE)
  • ปฏิกิริยาของแรงกล (mechanical forces) เช่น ฉายแสงรังสี
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา
  • หลังผ่าตัดเปิดหัวใจ (post-pericardiotomy syndrome)
  • บางรายมีเนื้องอกแพร่กระจายมาที่เยื่อหุ้มหัวใจ
  • ไม่พบสาเหตุ

อาการแสดงของโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเป็นอย่างไร?

บางคนเจ็บแน่นหน้าอกมากขึ้นเวลานอน เวลาตะแคงหรือเวลาโน้มตัวไปข้างหน้า และมักจะมีอาการไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และอาการอื่น ๆ ตามสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคร่วมด้วย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเยื่อหุ้มหัวใจที่มีการอักเสบนั้น เกิดการเสียดสีกันมากขึ้น ตามที่ต่างๆแล้วแต่ตำแหน่งของหัวใจ บางคนที่การอักเสบลามไปถึงเยื่อหุ้มปอดที่อยู่ติดกัน ก็จะทำให้มีอาการเจ็บมากขึ้น เวลาคนไข้หายใจเข้าแรงๆ

การวินิจฉัยโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

ซักประวัติ ตรวจร่างกายพบ การตรวจพบน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ เยื่อหุ้ม หัวใจหนา หรือหินปูนในเยื่อหุ้มหัวใจจากการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหรือจากการตรวจ computerized tomography หรือการตรวจ magnetic imaging หรือการตรวจสวนหัวใจ

เลือดออกในสมองจากความดันโลหิตสูง


เลือดออกในสมองจากความดันโลหิตสูง

เลือดออกในสมองเกิดจากความเสื่อมสภาพของผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัว หนาขึ้นและไม่ยืดหยุ่น เมื่อความดันในหลอดเลือดสูงขึ้น ทำให้เส้นเลือดแดงในสมองฉีกขาด เลือดคั่งในสมอง
มีอาการ ปวดศีรษะทันที แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดลำบาก พูดไม่ชัด เวียนศีรษะ เสียการทรงตัว ระดับความรู้สึกเปลี่ยนแปลงอาจซึมลงหรือหมดสติ

การรักษา

มี 2 วิธี คือ การรักษาทางยา และการผ่าตัด แพทย์จะเลือกวิธีการรักษาโดยพิจารณาจากขนาดของก้อนเลือดถ้าขนาดใหญ่มาก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนักหรือก้อนเลือดอยู่ในตำแหน่งที่เป็นอันตราย จะพิจารณาการผ่าตัด ถ้าหากก้อนเลือดขนาดเล็ก อาการของผู้ป่วยมักไม่หนักมาก จะพิจารณารักษาทางยา ไม่ต้องผ่าตัด

เลือดออกในสมองจากโรคหลอดเลือดโป่งพอง (Cerebral Aneurysm)

เกิดจากความผิดปกติของผนังหลอดเลือดบางจุด ทำให้ผนังหลอดเลือดบริเวณนั้นบางลง และจะโป่งพองออก ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ ความดันโลหิตสูงและผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ ร่วมกับอายุที่มากขึ้น

อาการ

ถ้าหลอดเลือดโป่งพองยังไม่แตกจะไม่แสดงอาการแต่อาจตรวจพบโดยบังเอิญ จากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยสาเหตุอื่นๆ แต่บางกรณีก็เกิดอาการได้หากหลอดเลือดโป่งพองมีขนาดใหญ่ กดทับเส้นประสาทบางตำแหน่งอาจมีอาการตาเหล่ หนังตาตก แต่เมื่อหลอดเลือดโป่งพองแตกออกจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงเฉียบพลัน อาจมีคลื่นไส้อาเจียนบางราย มีอาการทรุดลงเร็ว อาจหมดสติและเสียชีวิต

การรักษา

ถ้าหลอดเลือดโป่งพองขนาดใหญ่ ศัลยแพทย์อาจรักษาโดยใช้คลิปหนีบบริเวณฐานของหลอดเลือดที่โป่งพอง หรือการใส่ขดลวดพิเศษ เพื่อให้ส่วนที่โป่งพองอุดตันและไม่แตกอีก

เลือดออกในสมองจากอุบัติเหตุ

เกิดจากอุบัติเหตุทางจราจรการถูกทำร้าย ตกจากที่สูง เป็นต้น พบได้ทั้งวัยเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้สมองฟกช้ำ หลอดเลือดในสมองฉีกขาด

อาการ

ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแรงกระแทก ขนาดของก้อนเลือด และตำแหน่งของก้อนเลือด บางรายปวดศีรษะ มึนงง และหายได้เอง บางรายปวดศีรษะไม่มาก แต่ปวดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บางรายหมดสติชั่วครู่และฟื้นได้เอง บางรายมีอาการซึมลงและหมดสติตามมาภายหลัง อาการผิดปกติที่พบได้บ่อยคือ แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด นึกไม่ออก สับสน หลงลืม

การรักษา

หลังเกิดเหตุควรนำส่งโรงพยาบาลทันที เพื่อสังเกตอาการทางสมองโดยเฉพาะภายใน 24 ชั่วโมงแรก อาจมีอาการเปลี่ยนแปลงได้ ถึงแม้ว่าจะไม่มีบาดแผลภายนอกให้เห็น และรู้สึกตัวดีก็ตาม
       การเลือกวิธีการรักษาว่าจะผ่าตัดหรือไม่ แพทย์จะพิจารณาขนาดของก้อนเลือด ตำแหน่งเลือดออก ความดันในสมอง อายุและสภาพร่างกายของผู้ป่วย

อาการของภาวะเลือดออกในสมอง ที่ควรพบแพทย์ด่วน!

  • ปวดศีรษะ เป็นอาการที่พบบ่อยหากมีอาการปวดศีรษะรุนแรง มักพบว่ามีก้อนเลือดขนาดใหญ่
  • อาเจียน เนื่องจากมีความดันในกะโหลกศีรษะสูง
  • ซึมลง หรืออาจหมดสติ เนื่องจากมีความดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้นหรือสมองขาดเลือดไปเลี้ยง
  • แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง
  • พูดไม่ชัด พูดไม่ได้
  • บางครั้งอาจชัก
  • อาจมีหยุดหายใจ ถ้ามีเลือดออกกดก้านสมอง

ตรวจวินิจฉัยภาวะเลือดออกในสมองด้วยวิธีใดบ้าง

  • ซักประวัติตรวจร่างกาย เพื่อประเมินอาการและหาสาเหตุ
  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของสมอง (CT Brain)
  • เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
  • การเจาะนำไขสันหลัง กรณีสงสัยว่ามีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง
  • ตรวจดูร่องรอยของอุบัติเหตุ เช่น ศีรษะบวมโน หรือมีแผลแตกหรือไม่

อาการโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย


โรคหัวใจขาดเลือด หมายถึงอะไร?

โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic Heart Disease, IHD) หรือ โรคหลอดเลือดโคโรนารี (Coronary Artery Disease , CAD) หมายถึง ภาวะที่หลอดเลือดแดง (Coronary Artery) ที่เลี้ยงหัวใจตีบหรือตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ป่วยจะมีอาการ เจ็บหน้าอกและอาจมีภาวะหัวใจวาย หรือเสียชีวิตได้

สาเหตุการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ

หัวใจขาดเลือดเกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดแดงใหญ่โคโรนารี (Coronary Artery) เนื่องจากมีการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดตามวัย มีไขมันและหินปูนเกาะที่ผนังชั้นในของหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและหนาขึ้น ไม่ยืดหยุ่น ส่งผลให้หลอดเลือดเกิดการตีบแคบ หรือตัน เลือดจึงไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ ทำให้หัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย

อาการของหัวใจขาดเลือด

อาการสำคัญของหัวใจขาดเลือด คือ อาการเจ็บหน้าอก (Angina Pectoris) ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ เจ็บหน้าอกแบบคงที่ และเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน หรือไม่คงที่
เจ็บหน้าอกแบบคงที่ (Stable Angina) เป็นอาการเจ็บหน้าอกเมื่อมีการออกแรงมากๆเช่น เดินขึ้นสะพานลอย ขณะวิ่ง หรือเจ็บหน้าอกเมื่อมีอาการโกรธ เครียด แต่อาการจะทุเลาลงถ้าหยุดพักจากการออกแรงในกิจกรรมนั้นๆ หรือคลายจากอารมณ์ โกรธ เครียด จะมีอาการประมาณ 3 – 5 นาที นานที่สุดไม่เกิน 20 นาที
       ลักษณะการเจ็บหน้าอกจะเจ็บแน่นๆ เหมือนมีของหนักมาทับกลางหน้าอก และอาจเจ็บร้าวไปที่ขากรรไกรหรือแขนซ้าย อาจมีอาการร่วมอย่างอื่น เช่น ใจสั่น เหนื่อยหอบ เวียนศีรษะ คลื่นไส้
       สาเหตุของการเจ็บ เนื่องจากขณะออกแรงหรือมีอารมณ์โกรธ เครียด หัวใจต้องการเลือดและออกซิเจนเพิ่มขึ้น ในขณะที่หลอดเลือดหัวใจตีบตัน จึงส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ไม่เพียงพอ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ขาดออกซิเจน และเมื่อพักหรือ ผ่อนคลายจากอารมณ์โกรธแล้วอาการเจ็บหน้าอกจะหายไป เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจยังไม่ตาย
เจ็บหน้าอกเฉียบพลันหรือแบบไม่คงที่ (Unstable Angina) เป็นอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่สัมพันธ์กับการออกแรง เจ็บได้ในขณะพัก เจ็บนานเกิน 20 นาที ซึ่งมักมีภาวะช็อกและหัวใจวาย มีกล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน (Myocardial Infarction) สาเหตุมาจากหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และอาจมีอาการร่วมอื่นๆ ได้แก่ ใจสั่น วิงเวียน ศีรษะ หน้ามืด จากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ อาการคลื่นไส้ อาเจียน อาการของภาวะหัวใจวาย ได้แก่ เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ หรือมีภาวะช็อก เหงื่อออก ตัวเย็น หมดสติ หรือเสียชีวิต

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด

  • มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น เป็นการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดตามวัย เริ่มพบในผู้ชายเกินอายุ 45 ปี และผู้หญิงอายุเกิน 50 ปี
  • บุคคลที่มีอาชีพนั่งทำงานที่โต๊ะ มีการขยับร่างกายน้อย
  • ขาดการออกกำลังกาย ทำให้มีไขมันเกาะในผนังหลอดเลือดสูง หลอดเลือดเสื่อมสภาพ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ทำให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน
  • การสูบบุหรี่จัด
  • มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ

แพทย์จะตรวจวินิจฉัยอย่างไรบ้าง

  • สอบถามอาการเบื้องต้น เกี่ยวกับอาการเจ็บหน้าอกบริเวณที่เจ็บ ระยะเวลาที่เจ็บและอาการเจ็บร้าว สอบถามโรคประจำตัว จับชีพจร วัดความดันโลหิต การฟังเสียงหัวใจ
  • การตรวจเลือดช่วยวินิจฉัยระดับความรุนแรงของภาวะหัวใจขาดเลือดและเพื่อหาปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือด
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography , ECG) สามารถบอกจังหวะการเต้นของหัวใจ บอกโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย กรณีที่พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ หมายถึงโรคหัวใจรุนแรง แต่หากพบว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ ก็ไม่ได้หมายถึงว่าจะไม่มีความผิดปกติของหัวใจ อาจต้องอาศัยการตรวจวิธีอื่นๆประกอบ
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test) เป็นการตรวจขณะออกกำลังกายโดยการเดินสายพานหรือวิ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่หัวใจต้องการเลือดหรือออกซิเจนมากขึ้น หากมีหลอดเลือดหัวใจตีบ จะเกิดอาการแน่นอกหรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจเปลี่ยนแปลง เพราะเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ
  • การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiography) โดยการใส่สายสวนผ่านหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ หรือ ข้อพับแขน หรือข้อมือ ใส่สายสวนไปจนถึง รูเปิดของหลอดเลือดโคโรนารี ฉีดสารทึบรังสี และเอกซเรย์ดูหลอดเลือดว่าตีบแคบ มากน้อยเพียงได้
  • การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนของหัวใจ (Echocardiography) สามารถดูโครงสร้างของหัวใจ และการทำงานของหัวใจได้

การรักษา

การเลือกวิธีการรักษาแพทย์จะพิจารณาจากอาการความรุนแรงของโรค พยาธิสภาพของหัวใจ อายุ และโรคร่วมอื่นๆประกอบการพิจารณา วิธีการรักษา ได้แก่
  • รักษาด้วยยา
  • การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Percutaneous Transluminal Coronary Angioplasty , PTCA)
  • การผ่าตัดบายพาสของหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Grafting , CABG)

การรักษาหัวใจขาดเลือดด้วยยา

เป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น การใช้ยาละลายลิ่มเลือด เพื่อเปิดหลอดเลือดที่อุดตัน ยาขยายหลอดเลือด เช่น ไนโตรกลีเซอรีน บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก หากมีภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่ อาการเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ มีอาการบวม จะให้ยาขับปัสสาวะ ให้ออกซิเจน เป็นต้น และการใช้ยาเพื่อรักษาควบคุมโรคประจำตัวต่างๆของผู้ป่วย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดขณะรักษาด้วยยา

  • ควรพกยาอมใต้ลิ้น (ตามที่แพทย์สั่ง) ติดตัวสำหรับใช้เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก
  • หากเจ็บหน้าอก อมยาแล้วไม่ทุเลาลง เจ็บนานเกิน 5 นาที เจ็บในขณะพัก เจ็บมากกว่าเดิม จนเหงื่อออก หายใจหอบ ควรให้ญาติรีบพาไปพบแพทย์
  • การรับประทานยารักษาโรคประจำตัวอื่นๆ ควรรับประทานสม่ำเสมอตามที่แพทย์กำหนด ไม่ควรปรับขนาดยาเอง ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ เช่น การรับประทานอาหารควรงดอาหารไขมันสูง งดเค็ม งดอาหารหวานจัด ควรควบคุมน้ำหนัก ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่หักโหม คลายเครียด งดบุหรี่ ชา กาแฟ แอลกอฮอล์
  • พบแพทย์ตามนัด

การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Percutaneous Transluminal Coronary Angioplasty, PTCA)

เป็นการขยายหลอดเลือดหัวใจที่ตีบตัน เพื่อเปิดหลอดเลือดให้เลือดไหลผ่านไปเลี้ยงหัวใจได้สะดวกมากขึ้น ด้วยการใช้อุปกรณ์พิเศษ คือ บอลลูนขนาดเล็ก หรือ ใช้ขดลวดค้ำยัน (Stent) ร่วมด้วยโดยไม่ต้องผ่าตัด
ปัจจัยในการพิจารณาขึ้นอยู่กับขนาดของหลอดเลือด ตำแหน่งของหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดเล็กมากและขดเคี้ยวมาก จะทำให้การรักษาไม่ได้ผล มีโอกาสตีบตัน ซ้ำง่าย ข้อบ่งชี้ของการรักษาด้วยวิธีนี้ (PTCA) คือมีการตีบตันที่รุนแรง และมีอาการเจ็บหน้าอกที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล
ขั้นตอนของ PTCA เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จะทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะใส่สายสวน เช่น บริเวณขาหนีบ หรือ ข้อพับ หรือ ข้อมือ จากนั้นแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ แล้วสอดสานสวนขนาดเล็กผ่านผิวหนังไปยังหลอดเลือด ปลายสายสวนจะมีบอลลูนที่ยังแฟบอยู่ และเมื่อสายสวนไปถึงตำแหน่งของหลอดเลือดหัวใจที่ตีบหรืออุดตัน แพทย์จะทำการปล่อยให้บอลลูนพองออก เพื่อดันไขมันหรือหินปูนที่อุดตัน เบียดชิดผนังหลอดเลือดส่งผลให้ทางเดินของเลือดขยายกว้างขึ้น เลือดไหลผ่านไปเลี้ยงหัวใจได้สะดวกขึ้น และมักจะใส่ขดลวดค้ำยัน (Stent) คาไว้ที่หลอดเลือดบริเวณนั้น เพื่อป้องกันการตีบซ้ำของหลอดเลือด ใช้เวลาการทำประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง
ในระหว่างทำแพทย์สามารถเห็นตำแหน่งของหลอดเลือดที่ตีบและความรุนแรงของการตีบตัน โดยการฉีดสารทึบรึงสี และเอกซเรย์

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/4/899/th


ส่องกล้องกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาอาการปวดท้องไม่มีสาเหตุได้

ส่องกล้องกระเพาะอาหาร

การส่องกล้องเป็นเทคนิคพิเศษของการตรวจระบบทางเดินอาหารทั้งส่วนต้นและส่วนปลาย ซึ่งทางเดินอาหารประกอบไปด้วยหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก

ชนิดการส่องกล้องทางเดินอาหาร

  1. การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น (upper GI endoscopy) ลักษณะเครื่องมือมีลักษณะยาวๆเล็กๆ มีกล้องขนาดเล็กและหลอดไฟติดอยู่ส่วนปลาย ภาพจะปรากฏที่จอโทรทัศน์ แพทย์สามารถมองรายละเอียดของทางเดินอาหารตั้งแต่ส่องกล้องผ่านหลอดอาหาร ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น

    จะเจ็บมากไหม? เนื่องจากก่อนใส่อุปกรณ์ แพทย์จะให้ยานอนหลับทำให้ผู้ที่ได้รับการตรวจจะไม่รู้สึกเจ็บในขณะตรวจและหลังการตรวจ

    ก่อนการส่องกล้องกระเพาะอาหาร แพทย์จะแนะนำให้งดน้ำและอาหารก่อน 6-8 ชม.


    วิธีการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น แพทย์จะใส่อุปกรณ์เข้าทางปาก ผ่านหลอดอาหารเพื่อส่องกล้องกระเพาะอาหาและลำไส้เล็กส่วนต้น ระหว่างใส่อุปกรณ์ แพทย์จะเห็นภาพของอวัยวะต่างๆทางจอโทรทัศน์ หากพบก้อนเนื้อผิดปกติก็จะตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจ และหากพบแผลหรือจุดที่มีเลือดออกก็อาจจะทำการรักษาโดยการจี้เพื่อหยุดเลือด

  2. วิธีการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนปลาย เป็นการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ลักษณะเครื่องมือเป็นท่อขนาดเล็กปลายมีกล้องมีเลนส์ขยายภาพโค้งงอได้ โดยจะส่องตรวจผู้ที่มีอาการดังนี้
    • ท้องผูกเป็นประจำหรือท้องผูกสลับกับท้องเสีย
    • ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
    • เวลาเบ่งถ่ายอุจจาระมีติ่งเนื้อยื่นทางทวารหนัก
    • ท้องอืด แน่นท้อง ปวดท้อง
    • คลำพบก้อนในท้อง น้ำหนักลด
    • ตัวซีด มีอาการอ่อนเพลีย
    • อายุเกิน 50ปี ควรจะตรวจสุขภาพทุกๆ3-5ปี

  3. ก่อนทำการตรวจ แพทย์จะให้งดน้ำและอาหาร และจะให้ทานยาระบายก่อนตรวจ 6-8 ชม.เพื่อให้ลำไส้สะอาดและสามารมองเห็นสิ่งผิดปกติได้ง่าย

    เมื่อส่องกล้องเสร็จแล้วจะไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆ สามารถกลับบ้านได้ทันที
    ที่มา: http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/14/867/th

ช็อกโกแลตซีสต์ ชอบกินของเย็นๆระวังไว้เถอะ

ช็อกโกแลตซีสต์



ช็อกโกแลตซีสต์
ปกติเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกจะต้องอยู่ในโพรงมดลูก มีหน้าที่เป็นพื้นผิวสำหรับตัวอ่อนของทารกมาเกาะฝังตัว เซลล์นี้จะมีการแบ่งตัวตามการกระตุ้นของฮอร์โมนเพศหญิงและมีการสลายตัวเป็นประจำเดือน แต่เมื่อเซลล์นี้ไปอยู่ที่ส่วนอื่นจะก่อปัญหาได้ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถขับเซลล์ได้จึงก่อตัวเป็นถุงน้ำ ซึ่งจะสะสมเลือดประจำเดือนเก่าๆลักษณะเหมือนน้ำช็อกโกแลตจึงเรียกว่า ถุงน้ำช็อกโกแลต (Chocolate cyst) บริเวณที่พบช็อกโกแลตซีสต์ได้บ่อยที่สุดคือรังไข่ สาเหตุเบื้องต้นนี้อาจจะเกิดจากความผิดปกติของภูมิต้านทาน สิ่งแวดล้อม มลภาวะและพันธุกรรม
ช็อคโกแลตซีสต์มีอาการอย่างไรบ้าง
       ผู้หญิงทุกคนถ้าเมื่อใดก็ตามปวดท้องประจำเดือนมากจนกระทบต่อชีวิตประจำวันให้คำนึงถึงโรคช็อกโกแลตซีสต์ไว้ได้เลย เพราะเป็นอาการที่สำคัญและโดดเด่นสำหรับโรคนี้ แต่ก็ยังมีอาการอย่างอื่นบ่งบอกได้เช่นกัน ได้แก่ มีบุตรยาก แท้งง่าย ปวดบริเวณท้องน้อย อุ้งเชิงกรานขึ้นอยู่กับว่าช็อกโกแลตซีสต์ไปเกิดที่ส่วนไหน ฉะนั้นหากมีอาการดังกล่าวข้างต้นให้มาพบแพทย์เพื่อนตรวจวินิจฉัยและวางแผนแนวทางการรักษาต่อไปก่อนที่โรคจะลุกลาม
ตรวจวินิจฉัยอย่างไร
  • ตรวจภายใน
  • อัลตร้าซาวน์
รักษาโรคช็อคโกแลตซีสต์ได้อย่างไร
       การรักษาเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเพราะอาจส่งผลกระทบกับชีวิต ครอบครัว แพทย์จะต้องวางแผนการรักษาร่วมกับผู้ป่วยและญาติโดยเฉพาะคู่รักหรือคู่ชีวิต
  • หากผู้ป่วยมาด้วยอาการปวดการรักษาคือจ่ายยาบรรเทาอาการปวด
  • หากผู้ที่เป็นช็อกโกแลตซีสต์บริเวณมดลูกหรือรังไข่ต้องการรักษาให้หายขาด โดยการตัดมดลูกและรังไข่ทิ้งซึ่งจะทำให้ไม่มีประจำเดือนและมีลูกไม่ได้อีกต่อไป
  • หากผู้ป่วยยังต้องการมีลูกจะรักษาโดยการผ่าตัดเอาเฉพาะซีสต์และพังผืดออกซึ่งก็มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ 50%
  • กรณีผู้ป่วยอายุยังไม่ถึงวัยทองแต่ปวดมากก็อาจตัดสินใจตัดมดลูกและรังไข่ออก แพทย์จะให้ฮอร์โมนเสริม วิธีนี้ผู้ป่วยและครอบครัวก็ต้องเข้าใจว่าจะไม่สามารถมีลูกได้อีกต่อไป
การผ่าตัดปัจจุบันมีทางเลือก 2 วิธี
  1. การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง
    • ข้อดี คือ แพทย์สามารถเอามือเข้าไปล้วงไปคลำ เลาะพังผืดจำนวนมากจะถนัดมือกว่าและสามารถนำเอาช็อกโกแลตซีสต์ออกมาเป็นก้อนโดยไม่ต้องทำให้เป็นก้อนเล็กก่อน
    • ข้อเสีย คือ แผลขนาดใหญ่ เจ็บและฟื้นตัวช้า
  2. การผ่าตัดโดยส่องกล้อง
    • ข้อดี คือ แพทย์สามารถดูได้ละเอียดกล้องจะขยายภาพขึ้นจอเห็นภาพชัดเจน แผลขนาดเล็กและฟื้นตัวเร็ว