วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

โรคช็อกโกแลตซีสต์ กับดาราในวงการ

ช็อคโกแลตซีสต์มีอาการอย่างไรบ้าง

       ผู้หญิงทุกคนถ้าเมื่อใดก็ตามปวดท้องประจำเดือนมากจนกระทบต่อชีวิตประจำวันให้คำนึงถึงโรคช็อกโกแลตซีสต์ไว้ได้เลย เพราะเป็นอาการที่สำคัญและโดดเด่นสำหรับโรคนี้ แต่ก็ยังมีอาการอย่างอื่นบ่งบอกได้เช่นกัน ได้แก่ มีบุตรยาก แท้งง่าย ปวดบริเวณท้องน้อย อุ้งเชิงกรานขึ้นอยู่กับว่าช็อกโกแลตซีสต์ไปเกิดที่ส่วนไหน ฉะนั้นหากมีอาการดังกล่าวข้างต้นให้มาพบแพทย์เพื่อนตรวจวินิจฉัยและวางแผนแนวทางการรักษาต่อไปก่อนที่โรคจะลุกลาม
ตรวจวินิจฉัยอย่างไร
  • ตรวจภายใน
  • อัลตร้าซาวน์
  • อาการ
    บางคนจะปวดท้องเสมอเวลามีประจำเดือน ปัสสาวะไม่ออก ประจำเดือนมามากผิดปกติ และเวลากุ๊กกิ๊กกับแฟนก็จะมีอาการปวดท้องน้อย แต่บางคนไม่มีอาการเลย ปล่อยให้ซีสก้อนใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และมาพบคุณหมอด้วยสาเหตุ "มีบุตรยาก" คุณหมอถึงพบว่า "อ้าว คุณมีเจ้าก้อนนี้อยู่ก้อนใหญ่มาก และช๊อกโกแลตซีสต์ คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีบุตรยากอีกด้วย" และที่น่ากลัวก็คือ "ภาวะติดเชื้อ" เกิดหนองในช็อกโกแลตซีสต์ เพราะเลือดเก่าในถุงน้ำคืออาหารแสนอร่อยของแบคทีเรีย แต่กรณีนี้จะเกิดขึ้นไม่บ่อยนักค่ะ 
  • การรักษา
    นอกจากการ "ผ่าตัดโดยเปิดหน้าท้องและส่องกล้อง" อย่างที่รู้กันแล้ว ยังสามารถรักษาโดยการใช้ยา หรือรักษาร่วมกันทั้งผ่าและใช้ยา ซึ่งขึ้นอยู่กับ อาการ และ อายุของผู้ป่วย โดยการผ่าตัดแบบส่องกล้องจะทำให้แผลมีขนาดเล็ก แต่จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า และต้องเป็นคุณหมอที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น
  • การดูแลตัวเองไม่ให้เสี่ยง
    สาว ๆ ควรหมั่นออกกำลังกายกันเป็นประจำ เพื่อไปลดฮอร์โมนเอสโตรเจน แต่ในทางการแพทย์แล้ว ยังไม่มีการยืนยันว่า อะไรทำให้ประจำเดือนไหลย้อนกลับ "เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรละเลยการตรวจภายในเป็นประจำทุกปีนะคะ" ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม 

 ช็อกโกแลตซีสต์

" ดาราสาวที่เคยเข้ารับการผ่าตัด ช็อกโกแลตซีสต์ "
นัท มีเรีย
ตรวจพบช็อกโกแลตซีสต์ในมดลูก และก้อนเนื้อ 4 ก้อนในรังไข่ เมื่อปี 2555 

Nat Myria 



เมย์ เฟื่องอารมณ์
ปี 2555 เมย์ เฟื่องอารมณ์ได้เข้ารับการผ่าตัดโดยตรวจพบช็อกโกแลตซีสต์ 1 ก้อน ขนาด 4.6 ซม. 
ที่ปีกมดลูกด้านซ้าย และอีกข้างนึงเป็นเดอร์มอยซีสต์เป็นไขมัน 2 ซม.  

May Feungarom 



เจี๊ยบ พิจิตรา สิริเวชชพันธ์
เพราะเกิดปวดท้องอย่างรุนแรง จนต้องพบแพทย์ และได้ตรวจเจอช็อกโกแลตซีสต์ขนาดราว ๆ 7 เซนติเมตร 
บริเวณมดลูกด้านซ้าย เข้ารับการผ่าตัดอย่างกระทันหันเมื่อปี 2556 ที่ผ่านมา Jeab Pijittra 


 นานา ไรบีน่า
     ขณะที่สาวนานาไปตรวจสุขภาพเพื่อเตรียมพร้อมที่จะมีเจ้าตัวน้อย แต่แพทย์ดันไปตรวจพบช็อกโกแลตซีสต์ที่รังไข่ทั้ง 2 ข้าง และได้ผ่าตัดออกไปเรียบร้อย ไม่มีปัญหาต่อการมีบุตรแม้แต่น้อย แถมยังได้แฝดชาย-หญิงอีกต่างหาก! 

Nana Rybena 


เนย โชติกา
ปี 2556 สาวเนยตรวจพบช็อกโกแลตซีสต์อีก 8 ก้อน บริเวณหน้าอกและช่องท้อง หลังจากเคยผ่าออกไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว 
เจ้าตัวบอกว่าผ่าออกไปก็ยังไม่หายขาด แต่ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะแพทย์นัดตรวจทุก ๆ 6 เดือนและทานยาอย่างต่อเนื่อง


noey chotika



 ศรีริต้า เจนเซ่น
สาวรายล่าสุดที่เพิ่งได้รับการผ่าตัดไปหมาด ๆ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2557 
ต้องเข้ารับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน หลังจากเกิดอาการปวดท้องอย่างหนัก 
และตรวจพบช็อกโกแลตซีสต์ในช่องท้องจำนวน 3 ก้อน และมีก้อนหนึ่งที่มีอาการรั่ว Sririta Jensen


อาการของโรคกระดูกทับเส้นประสาทเป็นอย่างไร?

โรคกระดูกทับเส้น หรือที่เรียกกันว่า "โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท" นั้นเป็นโรคที่มีอัตราการเกิดเป็นอันดับต้นๆ ในหมู่โรคเกี่ยวกับหลังและคอ โดยโรคนี้ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจากลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้คน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน หรือการใช้ร่างกายไม่ถูกต้อง จนทำให้เกิดโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทในที่สุด

อาการของโรคกระดูกทับเส้นประสาทเป็นอย่างไร?
อาการกระดูกทับเส้นประสาทที่พบได้บ่อยนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่
กระดูกทับเส้น

  • กระดูกทับเส้นประสาทบริเวณหลังส่วนล่าง - เกิดจากการที่หมอนรองกระดูกปลิ้นหรือแตกจนทำให้ของเหลวภายในไปเบียดทับเส้นประสาทบริเวณหลังส่วนล่าง (กระดูกสันหลังชิ้นที่ L3 L4 L5 S1) ทำให้ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนเอวไปถึงขา อาการของโรคกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณหลังส่วนล่าง
    • มีอาการปวดหลังบริเวณเอว เป็นๆ หายๆ
    • ปวดหลังมากเวลา ยืน ก้มเงย หรือนั่งนานๆ
    • ปวดหลังร้าวลงมาที่ขา น่อง ตาตุ่ม หรือเท้า ร่วมกับมีอาการชาที่บริเวณขาหรือเท้าด้วย
    • ระบบขับถ่ายผิดปกติ หรือรุนแรงจนเป็นอัมพาตของขาทั้งสองได้
  • กระดูกทับเส้นประสาทส่วนคอ - เกิดจากการที่หมอนรองกระดูกยื่นมากดทับเส้นประสาทบริเวณคอ ส่งผลทำให้เกิดอาการปวดคอ ร่วมกับปวดแขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง อาการของโรคกระดูกทับเส้นประสาทส่วนคอ
    • เกิดอาการชาบริเวณฝ่ามือโดยเริ่มจากปลายนิ้ว
    • มีอาการปวดร้าวบริเวณแขนข้างใดข้างหนึ่ง
    • ปวดคอ ปวดเมื่อยบริเวณสะบักเรื้อรัง
    • ไม่สามารถเคลื่อนไหวคอได้ปกติ
กระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากสาเหตุใด?
  • การเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังตามอายุและการใช้งานเป็นปกติ
  • คนที่มีน้ำหนักตัวมากก็มีส่วนทำให้หมอนรองกระดูกรับน้ำหนักมาก
  • มีพฤติกรรมหรือทำงานที่ต้องก้ม หรือยกของหนักบ่อยๆ
  • อาชีพที่ต้องนั่งทำงาน หรือขับรถเป็นระยะเวลานาน
  • อุบัติเหตุจากการหกล้ม
ผู้ป่วยกระดูกทับเส้นประสาทควรปฏิบัติตัวอย่างไร?
หากผู้ป่วยดูแลตนเองด้วยวิธีถูกต้องและระมัดระวังก็จะทำให้มีโอกาสหายขาดจากโรคกระดูกทับเส้นประสาทสูง โดยผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวดังนี้
  • เปลี่ยนท่านอนเป็นการนอนตะแคง
  • เปลี่ยนมานอนที่นอนแข็งหรือที่นอนที่ยัดนุ่นแทน และใช้หมอนที่มีขนาดเตี้ยลงกว่าเดิม
  • ผู้ป่วยควรนั่งให้น้อยที่สุด เช่นหากจะนั่งพักเฉยๆ ให้เปลี่ยนเป็นการนอน หรือเวลาที่จะลุกนั่งให้นอนคว่ำแล้วคลานถอยลงจากเตียง
  • หากจำเป็นต้องนั่ง ควรนั่งหลังตรงพิงพนักโดยมีผ้าหรือหมอนหนุน
  • อย่านั่งนานเกินไป ควรลุกขึ้นยืนทุกๆ ชั่วโมง
  • เวลายกของหนัก ไม่ควรก้ม ควรใช้วิธีการย่อเข่าแทนการก้ม
  • ไม่ควรบิดตัว เพราะอาจทำให้หมอนรองกระดูกหลุดเพิ่มได้
  • ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
โรคแทรกซ้อน
หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอว ถ้าเคลื่อนรุนแรงมากขึ้นและกดทับเส้นประสาทเป็นเวลานาน อาจจะทำให้เกิดอาการชา และอ่อนแรงกล้ามเนื้อขาเป็นการถาวรได้ เช่นเดียวกับหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอ จะทำให้เกิดการชา และอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบริเวณแขน หรือในกรณีที่กดทับรุนแรงมาก อาจทำให้เกิดอัมพฤตหรืออัมพาตได้
การป้องกันการเกิดโรคกระดูกทับเส้นประสาท
  • หลีกเลี่ยงการนั่ง ยืน เดิน เป็นระยะเวลานานๆ หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ
  • ควรลดน้ำหนักให้สมดุลกับร่างกาย
  • งดสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
  • ควรออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้อง
อ้างอิง http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/7/895/th