วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ทำไมหมอหัวใจเก่ง จึงมีผลต่อการรักษา

หมอหัวใจเก่ง มีผลต่อการรักษา
โรคหัวใจเป็นโรคที่กระทรวงสาธารณะสุขสำรวจพบว่าคนไทยมีความเสี่ยงเป็นอันดับ 1 หากผู้ป่วยนั้นได้รับการตรวจโรคหัวใจอย่างแม่นยำก็จะทำให้เกิดการรักษาที่ตรงจุด นอกจากนั้นจะต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษา เนื่องจากการรักษาโรคหัวใจนั้นมีความอันตรายและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ทุกเมื่อ
นอกจากหมอหัวใจเก่ง พญาไทยังมีติดตามการรักษาทุกขั้นตอน
ให้บริการด้านการรักษาพยาบาล และดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจทั้งด้านอายุรกรรมและศัลยกรรม ทั้งเด็กและผู้ใหญ่อย่างครบวงจร มีทีมแพทย์อายุรกรรมหัวใจและศัลยแพทย์หัวใจ ประจำตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีทีมพยาบาล ที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจโดยเฉพาะอีกด้วย และครบครันด้วยอุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย มีการนำนวัตกรรมในการผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก การผ่าตัดแบบ Off pump การปิดรูรั่วในหัวใจด้วยร่ม(โดยไม่ต้องผ่าตัด) มาใช้รักษาผู้ป่วย ส่งผลให้ผลการรักษาและการฟื้นตัวของผู้ป่วยเร็วขึ้น
ข้อดีของการเข้ารับการรักษาโรคหัวใจที่พญาไท
    ทีมหมอหัวใจเก่งมีความเชี่ยวชาญในการรักษาเฉพาะทาง
    มีอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์อันทันสมัย
    มีเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำ
    มีห้องปฏิบัติการผ่าตัดหัวใจที่มีอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์อันทันสมัย
    มีห้องสำหรับผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ (CCU) ที่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์อย่างครบครัน
    มีแผนกผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างครบครันได้แก่ แผนกผู้ป่วยนอก แผนกตรวจสวนหัวใจ แผนกผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ แผนกผ่าตัดหัวใจ แผนกฟื้นฟูและควบคุมปัจจัยเสี่ยง
    มีการดูแลอย่างต่อเนื่อง ให้ความอบอุ่นเสมือนครอบครัวเดียวกัน
ศูนย์หัวใจที่ดีนอกจากมีหมอหัวใจเก่งแล้วยังต้องมี 4H’s
เพราะหัวใจมีความสำคัญที่สุด จึงต้องได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด ทางโรงพยาบาลพญาไทจึงได้จัดตั้งศูนย์หัวใจ หรือ Health Heart Center ที่มีความพร้อมทางการรักษา เพื่อให้การดูแลรักษาอย่างทันท่วงที โดยโรงพยาบาลมั่นใจว่า ด้วยแนวคิด 4H’s หัวใจทุกดวงที่ก้าวเข้ามาที่ศูนย์โรคหัวใจแห่งนี้ จะได้รับการดูแลอย่างดีเยี่ยมในทุก ๆ ด้าน
    Heart Service ความพร้อมเพื่อการบริการแบบฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมงเพราะอาการเฉียบพลันอันเกิดจากโรคหัวใจต้องการดูแลรักษาอย่างเร่งด่วน ศูนย์หัวใจ จึงมีบริการรถฉุกเฉินหัวใจ โดยแพทย์และพยาบาลเฉพาะทาง พร้อมอุปกรณ์การแพทย์ เช่นเครื่องช่วยหายใจ เครื่องกระตุ้นหัวใจ ทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที
      Heart Coordinator พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง และ Heart Hotline ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวตั้งแต่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลจนถึงการฟื้นฟู รวมถึงโทรศัพท์ติดตามเยี่ยมผู้ป่วย เพื่อติดตามผล และให้ความรู้ในการดูแลตนเองและป้องกันไม่ให้กลับเป็นโรคเดิมอีก
      Cath Lab Stand by ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization) เปิดให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ stand by เพื่อให้การรักษาคนไข้ที่มีอาการเฉียบพลัน สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ทันท่วงที คือสามารถเปิดห้องปฏิบัติการนี้ภายใน 30 นาที

    Heart Doctor ทีมแพทย์เฉพาะด้านหัวใจชั้นนำระดับประเทศ ที่มีความสามารถ ความเชี่ยวชาญในการป้องกันดูแลรักษาและฟื้นฟู ด้วยความพร้อมของทีมแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในการป้องกันดูแล รักษา และฟื้นฟู อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และปลอดภัย โดยเชื่อมั่นว่า ที่นี่จะก้าวสู่การเป็นศูนย์โรคหัวใจอันดับหนึ่งของเอเชีย ศูนย์หัวใจพญาไท ฮาร์ทเซ็นเตอร์ ให้ความสำคัญของการป้องกันเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ รวมถึงการให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงการออกกำลังกาย ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ยังบริการรถฉุกเฉินหัวใจ สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคหัวใจ พร้อมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อความปลอดภัยและการดูแลรักษาที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ นำทีมโดยนพ.ณัฐนันทน์ ประศาสน์สารกิจ แพทย์หัวหน้าศูนย์หัวใจพญาไท 2 และ นพ.อมร จงสถาพงษ์พันธ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการสวนหัวใจและขยายหลอดเลือดหัวใจ
    Heart Imaging การใช้เทคโนโลยีรังสีวิทยาในการวินิจฉัยโรค ด้วย MRI, CT-Scan, Cath Labการตรวจรักษาอวัยวะที่อยู่ด้านใน ร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจนั้น การมีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยช่วยในการตรวจวินิจฉัยโรค จะทำให้การตรวจรักษามีความแม่นยำ ในทุกขั้นตอน ซึ่งทางศูนย์โรคหัวใจพญาไท1 ได้ให้ความสำคัญในการลงทุนนำเทคโนโลยีรังสีวิทยา มาใช้ ทำให้ผู้เข้ามารับการรักษามีความสบายใน และมั่นใจมากที่สุด
    Heart Rehab การฟื้นฟูหัวใจ จะช่วยให้ผู้เป็นโรคหัวใจกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน ทำงานได้ตามปกติ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย และช่วยลดภาวะเสี่ยงในผู้ทีมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
     ที่มา http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/4/841/th

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น