วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

รู้จัก “ภาวะครรภ์เสี่ยง”…เพิ่มความใส่ใจคุณแม่ตั้งครรภ์

ภาวะครรภ์เสี่ยง หมายถึง การตั้งครรภ์ที่มีโอกาสเกิดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อ มารดาและทารก โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยง เช่น มารดาอายุมาก เคยแท้งบุตร มีโรคประจำตัว เป็นต้น

ปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์

  1. เคยมีประวัติการตั้งครรภ์
    • ทารกเสียชีวิตระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างคลอดและหลังคลอด
    • เคยแท้งบุตร
    • เคยคลอดก่อนกำหนด (อายุครรภ์ก่อน 37 สัปดาห์)
    • เคยคลอดบุตรน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน (น้อยกว่า 2500 กรัม)หรือน้ำหนักเกินมาตรฐาน (มากกว่า 4000 กรัม)
    • เคยตั้งครรภ์ มีภาวะครรภ์เป็นพิษ
  2. ปัจจัยเกี่ยวกับมารดา
    • มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไทรอยด์เป็นพิษ โลหิตจาง โรคลมชัก วัณโรค เอดส์ ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบี หัดเยอรมัน
    • เกี่ยวกับรูปร่างของมารดา เช่น ตัวเล็ก เชิงกรานแคบ ตัวเตี้ยส่วนสูงไม่เกิน 140 เซนติเมตร
    • อายุน้อยกว่า 15 ปี อายุเกิน 40 ปี
  3. ความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์แฝด ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ มีเนื้องอกมดลูก ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โลหิตจาง ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะภาวะครรภ์เสี่ยง
  4. อันตรายจากภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

    ภาวะครรภ์เสี่ยง ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้ มีผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารก และมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิต เราจึงควรให้ความสนใจเพื่อการเฝ้าระวังวางแผนการป้องกัน และแก้ไขได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เป้าหมายเพื่อความปลอดภัยของมารดาและทารก ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่

    ครรภ์เป็นพิษ

    เป็นภาวะ ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ มีความดันโลหิตสูง (มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท) ร่วมกับมีโปรตีนไข่ขาวออกมาในปัสสาวะ จะทำให้ มีอาการบวมที่หน้า มือ ขา เท้า บางคนปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจชัก เส้นเลือดในสมองแตก อาจทำให้เสียชีวิต เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย
           สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มักพบในคุณแม่อายุมากกว่า 35 ปี หรือน้อยกว่า 20 ปี ตั้งครรภ์แฝด คุณแม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
           รักษา ด้วยการให้ยาควบคุมความดัน ยาป้องกันการชัก ยุติการตั้งครรภ์ในเวลาที่เหมาะสม เฝ้าระวังด้วยการ การตรวจวัดความดัน และตรวจปัสสาวะสม่ำเสมอ
ที่มา http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/76/912/th

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น