วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สมองเสื่อม.......เมื่อร่างกายเสื่อม

สมองเสื่อ.......เมื่อร่างกายเสื่อม

     เมื่อพูดถึงสมองเสื่อม เรามักนึกถึง " ความจำเสื่อม ". อันที่จริงแล้วปัญหาเรื่องความจำเกิดได้กับทุกคนและทุกวัย ซึ่งมักเกิดเพราะความไม่ใส่ใจ ไม่ตั้งใจ จึงทำให้หลงลืม แต่เมื่อไรก็ตาม ที่หลงลืมในสิ่งที่ไม่ควรเป็น เช่น ลืมเบอร์โทรศัพท์ของตนเอง ลืมบ้านเลขที่ของตนเอง จำสิ่งที่เพิ่งทำเมื่อสักครู่เดียวไม่ได้ ถือว่าผิดปกติ  ความจำเสื่อม อาจเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัลไซเมอร์ ซึ่งเกิดจากการเสื่อมของเซลล์สมองตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น
     
    อาการที่บ่งถึงความจำที่แย่จนต้องมาพบแพทย์ ได้แก่
    - สูญเสียความจำระยะสั้น เช่น ลืมว่าถอดแว่นไว้ที่ไหน จอดรถตรงไหน เป็นต้น
    - ไม่มีสมาธิในกิจกรรมที่กำลังทำ
    - ความสามารถด้านภาษาหรืการคำนวณเสียไป
    - การตัดสินใจไม่ปกติและไม่เหมาะสม
    - จิตใจซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย จากปัญหาของความจำจนทำให้ขาดความมั่นใจ
    - ชอบเดินออกนอกบ้านและจำทางกลับบ้านไม่ได้ หรือลืมว่าออกมาได้อย่างไร ซึ่งอาจหลงทางจนกลับบ้านไม่ได้ เนื่องจากจำบ้านเลขที่และเบอร์โทรศัพท์บ้านไม่ได้
   
    การป้องกันทำได้ยาก แต่เราสามารถชะลอร่างกายของเราให้ไปถึงจุดนั้นช้าลงได้ ด้วยการชะลอความเสื่อมของร่างกาย ดังนี้
1. พบแพทย์ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย เพื่อตรวจร่างกายประเมินภาวะความเสื่อมที่เกิดขึ้น และจัดลำดับภาวะผิดปกติเพื่อการรักษา
2. ตรวจเลือดเพื่อประเมินความเสื่อมและความรุนแรงที่เกิดขึ้น
3. ตรวจหาสาเหตุแฝง เช่น หัญหาการนอนกรนจนขาดออกซิเจนจากการหยุดหายใจขณะนอน
4. พิจารณาถึงลำดับการรักษา&ป้องกัน ได้แก่
    - ปรับรูปแบบการดำเนินชีวิต ลดเครียด งดบุหรี่และสุรา นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    - เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์&ครบห้าหมู่ รวมทั้งผักผลไม้ ซึ่งเสริมวิตามิน& เกลือแร่ที่จำเป็น
    - ดื่มน้ำสะอาดวันละ 8-10 แก้ว
    - รักษาด้วยยา วิตามิน อาหารเสริมที่ผลเลือดแสดงถึงภาวะพร่อง ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ  สารเหล่านี้มีคุณสมบัติช่วยในการทำงานของสมอง ช่วยฟื้นฟูสมองจากภาวะความจำเสื่อม และช่วยให้ความจำดีขึ้น หลังการรักษานอกจากปัญหาด้านความจำลดลงแล้ว ยังทำให้สมรรถภาพในการทำงาน การตัดสินใจ ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และความผันผวนทางอารมณ์พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นด้วย
    - ฝึกลับสมองบ่อยๆ.เพื่อชะลอความเสื่อมด้วยกิจกรรมบริหารสมอง เช่น เกมต่อคำ เกมคิดเลข เป็นต้น
ข้อควรระวัง : ปัญหาหลงลืม อาจไม่ใช่เรื่องปกติ แต่อาจบ่งถึงปัญหาที่ตามมาจากความเสื่อมของวัย หากปล่อยไว้จนอาการมาก อาจยากเกินแก้ไข จึงควรสังเกตตัวเอง หากมีความผิดปกติดังกล่าว ควรรีบปรึกษาแพทย์

พญ.ธิศรา วีรสมัย สูตินรีแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย รพ.พญาไท1

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น