วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ความสำคัญของเยื่อหุ้มหัวใจ

เยื่อหุ้มหัวใจนั้นมีลักษณะบางๆ ห่อหุ้มหัวใจ แบ่งเป็นสองชั้น โดยชั้นในจะติดกับหัวใจโดนตรง ส่วนชั้นนอกจะติดกับปอดและอวัยวะอื่นๆ โดยระหว่างเยื่อหุ้มหัวใจสองชั้นนี้จะมีน้ำหล่อลื่นที่ทำหน้าที่ป้องกันห้องใจของเราไม่ให้เสียดสีหรือกระทบกระเทือนกับอวัยวะอื่นๆที่อยู่ใกล้กับหัวใจในขณะที่หัวใจบีบตัวเข้าออก

เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเกิดขึ้นได้อย่างไร?

โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหรือมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นโรคหัวใจที่เกิดจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ แล้วทำให้เกิดน้ำหนอง หรือเลือดในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ สาเหตุการเกิดเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ประกอบด้วยโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ เนื่องจาก
  • โรคที่ทำให้มีการอักเสบหลายระบบ เช่น Systemic Lupus Erythematosus (SLE)
  • ปฏิกิริยาของแรงกล (mechanical forces) เช่น ฉายแสงรังสี
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา
  • หลังผ่าตัดเปิดหัวใจ (post-pericardiotomy syndrome)
  • บางรายมีเนื้องอกแพร่กระจายมาที่เยื่อหุ้มหัวใจ
  • ไม่พบสาเหตุ

อาการแสดงของโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเป็นอย่างไร?

บางคนเจ็บแน่นหน้าอกมากขึ้นเวลานอน เวลาตะแคงหรือเวลาโน้มตัวไปข้างหน้า และมักจะมีอาการไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และอาการอื่น ๆ ตามสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคร่วมด้วย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเยื่อหุ้มหัวใจที่มีการอักเสบนั้น เกิดการเสียดสีกันมากขึ้น ตามที่ต่างๆแล้วแต่ตำแหน่งของหัวใจ บางคนที่การอักเสบลามไปถึงเยื่อหุ้มปอดที่อยู่ติดกัน ก็จะทำให้มีอาการเจ็บมากขึ้น เวลาคนไข้หายใจเข้าแรงๆ

การวินิจฉัยโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

ซักประวัติ ตรวจร่างกายพบ การตรวจพบน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ เยื่อหุ้ม หัวใจหนา หรือหินปูนในเยื่อหุ้มหัวใจจากการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหรือจากการตรวจ computerized tomography หรือการตรวจ magnetic imaging หรือการตรวจสวนหัวใจ
โรคหัวใจเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

การรักษาและการป้องกันการเกิดโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

สามารถป้องกันโดยการกำจัดสาเหตุ และบรรเทาการบีบรัดหัวใจจากน้ำหรือหนองในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ ทั้งนี้โดยใช้ยาฆ่าเชื้อหรือยาอื่น ๆ ที่เหมาะสม ถ้ามีน้ำหรือหนองอยู่มากพอจะเจาะออกได้ก็จำเป็นที่จะต้องเจาะออก หรือถ้าเจาะไม่ได้ ก็จำเป็นที่จะต้องผ่าตัดเอาน้ำหนอง หรือเยื่อหุ้มหัวใจออกเพื่อไม่ให้หัวใจถูกบีบรัดได้ ผู้ที่เป็นโรคนี้ จึงต้องไปหาหมอและขอรับการรักษาและขอทราบวิธีการป้องกันและการปฏิบัติจากแพทย์เชี่ยวชาญ การรักษาตัวเองในโรคหัวใจประเภทนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุและคำแนะนำของแพทย์สำหรับผู้ป่วยแต่ละคนโดยเฉพาะ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น