วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ไมเกรน เป็นไม่หาย

ปวดศรีษะไมเกรน

 ปวดศรีษะไมเกรน

โรคปวดศรีษะไมเกรน เป็นโรคศรีษะเรื้อรังที่พบได้บ่อย โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดศรีษะที่ค่อนข้างรุนแรง มักมีอาการคลื่นใส้อาเจียนร่วมด้วย โดยอาการปวดศรีษะอาจโดนกระตุ้นด้วยปัจจัยหลายอย่างเช่น แสงจ้า เสียงดังเป็นต้น โรคปวดศรีษไมเกรน หากได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นอย่างมาก

สาเหตุ

สาเหตุการปวดศรีษะแบบไมเกรนนั้นยังไม่ทราบชัดเจน ส่วนหนึ่งอาจเชื่อว่า เกิดจากเซลล์สมอง และหลอดเลือดมีภาวะไวต่อตัวกระตุ้นมากเกินไป ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าที่ผิดปรกติในสมอง ส่งผลให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาทและหลอดเลือดในสมอง ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาไม่ถูกต้องและทันท่วงที อาจทำให้เกิดการเปลื่ยนแปลงในระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไวต่อตัวกระตุ้นง่ายขึ้น และการรักษาจะยากขึ้นด้วย

อาการ

ผู้ป่วยไมเกรน มักมีอาการปวดหัวปานกลาง ถึงรุนแรง อาการมักกำเริบเป็นระยะ โดยมักจะเป็นข้างเดียว ปวดแบบตุ๊บตุ๊บ บริเวณขมับ หรือต้นคอ อาการปวดศรีษะมักจะยาวนาน 4 ถึง 72 ชั่วโมง โดยอาการปวดหัวจะแย่ลงเมื่อมีการขยับศรีษะ ไอจาม และดีขึ้นถ้าผู้ป่วยอยู่ในที่เงียบและมืด หรือได้รับการพักผ่อน

ในผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการนำก่อนอาการปวดศรีษะ เช่น อาจมีการมองเห็นที่ผิดปรกติ มองไม่ชัด มองเห็นแสงแบบซิกแซกโดยจะขยายขึ้นเรื่อยเรื่อย อาจมีอาการชามือหรือชาหน้า ได้ อาการนำมักเกิดก่อนมีอาการปวดศรีษะประมาณ 30 นาที โดยส่วนมากระยะเวลาที่เป็นไม่เกิน 20 นาที

ตัวกระตุ้น

 ปวดศรีษะไมเกรน

อย่างที่กล่าวข้างต้นแล้วว่าผู้ป่วยไมเกรนมักมีภาวะไวต่อสิ่งกระตุ้น ดังนั้นการเลื่ยงสิ่งกระตุ้นเป็นสิ่งจำเป็น ตัวกระตุ้นที่พบได้บ่อยเช่น แสงจ้า เสียงดัง สภาพอากาศเป็นแปลง การมีประจำเดือน การกินอาหารไม่ตรงเวลาหรือการอดอาหาร ภาวะความเครียด ผงชูรส การพักผ่อนไม่เพียงพอ ภาวะอ้วน เป็นต้น

โรคปวดศรีษะไมเกรนนั้น หากได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง หรือกินยาแก้ปวดมากเกินไป อาจทำให้อาการปวดศรีษะ รุนแรงมากขึ้น หรือความถี่ของการปวดมากขึ้น ได้

การรักษา

การรักษาไมเกรนมีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับลักษณะความรุนแรงของอาการ โดยการรักษาทีหลักคือ การบรรเทาอาการช่วงปวดศีรษะ และการป้องกัน ซึ่ง หากผู้ป่วยมีอาการที่รุนแรงมาก หรือเป็นบ่อย ผู้ป่วยอาจมีความจำเป็นที่จะต้องรับประทานยาป้องกัน เพราะการที่ต้องรับประทานยาแก้ปวดบ่อยครั้ง อาจส่งผลให้ทั้งอาการปวดรุนแรงขึ้น รวมถึงความถี่ของการปวดมากขึ้นด้วย ส่วนการรักษาวิธีอื่นก้อสามารถทำได้ เช่น การฉีดยาระงับการทำงานของเส้นประสาทเฉพาะที่ การฉีดโบทอก การนวดกดจุด เป็นต้น

 ปวดศรีษะไมเกรน

วิธีการปฎิบัติตัวช่วงปวดศีรษะไมเกรน

ช่วงที่มีอาการปวดศีรษะ ผู้ป่วยควรรับประทานยาแก้ปวดทันที เพราะหากปล่อยไว้นานอาจทำให้ การออกฤทธิ์ของยาไม่ดีเท่าที่ควร ผู้ป่วยควรรีบพักผ่อน และอยู่ในที่มืด หลีกเลื่ยงตัวกระตุ้นต่างต่างที่อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ หากไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์

ข้อควรปฎิบัติสำหรับผู้ป่วยไมเกรน

ควรสังเกตและหลีกเลื่ยงตัวกระตุ้นที่อาจก่อให้เกิดปวดศีรษะไมเกรน
ควรหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง
หลีกเลื่ยงอาหารที่กระตุ้นการปวดศีรษะ ทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่ควรทานอาหารมาก หรือน้อยเกินไป
ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายอย่างน้อย1 ชั่วโมง 5 ครั้งต่อสัปดาห์ สามารถทำให้อาการปวดศีรษะไมเกรนดีขึ้นได้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น