วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นไวรัสตับอักเสบ ?

ไวรัสตับอักเสบมีหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอ, บี, ซี, ดี, อี เป็นต้น แต่ที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขประเทศไทย ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอ ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี

อาการของโรคตับอักเสบเฉียบพลัน

ตับอักเสบเฉียบพลันจากไวรัสตับอักเสบทุกชนิด มีอาการคล้ายกัน ส่วนอาการจะน้อยหรือมากขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อไวรัสที่ร่างกายได้รับและสภาพร่างกายดั้งเดิมของผู้ป่วย ได้แก่ อาการอ่อนเพลีย จุกแน่นใต้ชายโครงขวา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย ปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลือง ตาเหลือง ประมาณ 1 – 4 สัปดาห์ อาการตัวเหลือง ตาเหลืองจะหายไป

อาการตับอักเสบเรื้องรัง

เชื้อไวรัสที่ทำให้ตับอักเสบเรื้อรัง มี 2 ชนิด คือ เชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซี มักไม่แสดงอาการ บางรายอาจรู้สึกอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียนบ้างในช่วงที่มีภาวะตับอักเสบ การติดเชื้อไวรัสจะทำให้เกิดการทำลายของเซลล์ตับทีละน้อยจนเกิดภาวะตับแข็งและเพิ่มโอกาสในการเกิดมะเร็ง สามารถตรวจดูการอักเสบของตับได้จากการตรวจเลือด อาการตับแข็งและมะเร็งตับ ในระยะแรกไม่มีอาการแต่อาจมีอาการเพลียบ้าง มักมาพบแพทย์ด้วยภาวะแทรกซ้อน เช่น ท้องบวม เท้าบวม อาเจียนเป็นเลือด ตัวตาเหลือง

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นไวรัสตับอักเสบ ?

  • ทราบโดยการตรวจเลือดดูระดับ SGOT , SGPT ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ ที่ประกอบไปด้วยโปรตีนที่ตับสร้างขึ้น มีค่าปกติไม่เกิน 40 mg/dl ถ้าตับอักเสบจะมีค่ามากกว่า 40 mg/dl
  • การตรวจเลือดหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ
    • ไวรัสตับอักเสบเอตรวจ IgM Anti HAV - เป็นการตรวจภูมิคุ้มกันไอจีเอ็มต่อไวรัสเอ
    • ไวรัสตับอักเสบบีตรวจ HBsAg(Hepatitis B surface Antigen)- เป็นการตรวจโปรตีนบนผิวของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ถ้าพบโปรตีนในปริมาณสูง(ผลบวก)หมายถึงผู้ป่วยมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และสามารถแพร่เชื้อได้ Anti-HBs เป็นการตรวจภูมิต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ถ้าผลบวกแปลว่ามีภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
    • ไวรัสตับอักเสบซี ตรวจ Anti-HCV - เป็นการตรวจภูมิต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบซีจะตรวจ พบได้ก็ต่อเมื่อติดเชื้อไปแล้วระยะหนึ่ง อย่างน้อย 5 – 6 สัปดาห์ ซึ่งถ้าผลตรวจเป็นนบวก ก็ต้องตรวจหาปริมาณไวรัส (HCV RNA) เพื่อยืนยันการติดเชื้ออีกครั้งหนึ่ง
  • ไวรัสตับ
  • การตรวจด้วยคลื่นเสียง (Ultrasound) หรือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูโครงสร้างของตับ ว่าตับแข็ง หรือไม่ และมีก้อนหรือไม่
  • การตรวจชิ้นเนื้อตับ จะทำเมื่อมีข้อบ่งชี้จำเพาะ ซึ่งต้องได้รับการพิจารณาตรวจโดยแพทย์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น