วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

โรคใดที่หายได้โดยการรักษาด้วยการผ่าตัดสมอง?

โรคใดที่สามารถทำการรักษาด้วยการผ่าตัดสมอง?


โรคที่เกี่ยวข้องกับสมอง โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือ โรคหลอดเลือดทางสมองแตก โรคเนื้องอกในสมอง , ฝีในสมอง  หรือการติดเชื้อในสมอง , อุบัติเหตุที่ทำให้สมองมีเลือดออก , บวมช้ำ

การผ่าตัดสมองแบบ Minimally Invasive Neurosurgery คืออะไร?

การผ่าตัดผ่านกล้องจะทำโดยการเจาะผิวหนังบริเวณที่จะทำการรักษาเป็นรูขนาดเล็ก เพื่อสอดใส่กล้องขนาดเล็ก เครื่องมือผ่าตัดลงไปเพื่อทำการผ่าตัด ซึ่งรอยแผลจะมีขนาดเล็กประมาณ 1-2 ซม หรือขนาด 3-4 ซม. ในบางราย  เพื่อให้ภาพที่ชัดเจนและลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในน้อย ลดโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ผู้ป่วยใช้ระยะเวลาพักฟื้นไม่นาน แผลเล็ก เจ็บน้อยโดยจะใช้เครื่องมือในการช่วยในการผ่าตัด ได้แก่

  • Microscope กล้องผ่าตัดที่มีกำลังขยายสูง และมีลำแสงที่สามารถส่งลงไปในจุดที่ลึกๆได้ จึงให้รายละเอียดในการผ่าตัดที่สูงขึ้น
  • Endoscope กล้องที่มีลักษณะเป็นแท่ง สอดเข้าไปในบริเวณสมองที่ต้องการผ่าตัดมีความละเอียดสูงทำให้มองเห็นในจุดที่ลึกได้อย่างชัดเจน โดยเครื่องมือชนิดนี้จะเหมาะสำหรับการผ่าตัดบางอย่างเช่น การผ่าตัดระบายนำคั่งในสมอง และการผ่าตัดเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง
  • Calvitron Ultrasonic Surgical Aspiration (CUSA) เครื่องมือที่ทำหน้าที่สลายย่อยเนื้องอกที่ต้องการผ่าตัดออกให้เป็นชิ้นเล็กๆโดยใช้พลังงานจากคลื่นเสียงและดูดออกมา ซึ่งจะไม่รบกวนเนื้อสมองส่วนอื่น
  • Laser ใช้แหล่งกำเนิดแสงส่องผ่าน  Fiberoptic ขนาดเล็ก โดยศัลยแพทย์จะสอด Fiberoptic ขนานไปกับ Endoscope เพื่อตัดหรือจี้ตำแหน่งที่ต้องการ  แสง Laser นี้จะแผ่ความร้อนในรัศมี หรือความลึกไม่เกิน 1 มิลลิเมตร ซึ่งมีความปลอดภัยต่อเนื้อเยื่อข้างเคียง และช่วยในเรื่องไม่ให้มีการเสียเลือดเป็นจำนวนมากจากการผ่าตัด
  • Navigator ใช้บอกตำแหน่งต่างๆของสมอง ทำให้การผ่าตัดนั้นมีความแม่นยำและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ดีกว่าการผ่าตัดแบบเดิมอย่างไร?
  • แผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กกว่า เพียง  2.5-3 cm.  เท่านั้น 
  • สามารถมองเห็นส่วนต่างๆ ของสมองผ่านเลนส์ที่มีกำลังขยายสูง  ทำให้การผ่าตัดปลอดภัย  ไม่กระทบกระเทือนสมองส่วนอื่นๆ  เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้น้อย
  • แผลหายเร็วไม่กระทบความงามของรูปหน้า
  • ไม่ต้องโกนผมทั้งหมดเหมือนการผ่าตัดสมองในแบบเดิม
  • ปวดแผลหลังผ่าตัดน้อยกว่าทำให้ร่างกายสามารถฟื้นตัวได้เร็ว
  • ได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น
  • ระยะเวลาในการอยู่โรงพยาบาลสั้นกว่า
  • อ่านเพิ่มเติม http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/6/846/th

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น