วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

หลงๆ ลืมๆ (ไฮโดรซีโฟรัส) อาการขี้ลืมในวัยรุ่น เก็บของแล้วชอบหาไม่เจอ

หลงๆ ลืมๆ (ไฮโดรซีโฟรัส) โรคสมองเสื่อมอาจถามหา!


สาเหตุหลักของภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ เรื่องของอายุและพันธุกรรม จำนวนผู้ป่วยที่พบว่าเป็นโรคสมองเสื่อมนั้นเพิ่มมากขึ้นทุกปี ๆ โดยผู้ป่วยในวัยตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป

หลงๆ ลืมๆ โรคสมองเสื่อมอาจถามหา!
เชื่อว่าหลายคนนั้นคงจะเคยมีอาการหลงๆลืมๆ กันบ้างเป็นเรื่องปกติทั่วไป แต่รู้หรือว่าหากมีอาการหลงๆลืมๆบ่อยยิ่งขึ้นนั้นอาจมีสาเหตุมาจากภาวะสมองเสื่อมได้ ดังนั้นเราจึงต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่าอาการหลงๆลืมๆแบบใดที่เป็นปกติและแบบใดที่น่ากังวลใจ
อาการหลงๆลืมๆ อย่างไรที่ผิดปกติ
หลงลืมบ่อยๆ จนน่าเป็นห่วง
นึกถึงสิ่งที่ได้ทำไปแล้วไม่ออก
นึกคำพูดไม่ออก และใช้คำอื่นแทนทำให้ฟังไม่เข้าใจ
หลงทางกลับบ้านไม่ถูก
แต่งตัวไม่ถูกกาลเทศะ หรือปล่อยเนื้อปล่อยตัวไม่สนใจทำความสะอาด
บวกลบเลขง่ายๆ ไม่ได้หรือจำตัวเลขไม่ได้
เก็บข้าวของผิดที่ผิดทางอย่างไม่เหมาะสม เช่น เอารองเท้าเก็บในตู้เย็น
อารมณ์แปรปรวนอย่างไม่มีเหตุผล
บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
เฉื่อยชา ขาดชีวิตชีวา
สาเหตุการเกิดโรคสมองเสื่อม
สาเหตุหลักของภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ เรื่องของอายุและพันธุกรรม จำนวนผู้ป่วยที่พบว่าเป็นโรคสมองเสื่อมนั้นเพิ่มมากขึ้นทุกปี ๆ โดยผู้ป่วยในวัยตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มีอัตราการป่วยสูงถึงร้อยละ 5 - 8 และยิ่งทวีสูงขึ้น เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ในผู้ที่อายุ 90 ปีขึ้นไป พบอัตราการเกิดโรคสูงถึงร้อยละ 50 ภาวะสมองเสื่อมแบ่ง เป็น 5 ระยะ
ระยะที่ 1 ระยะนี้จะเหมือนคนปกติ ไม่มีปัญหาเรื่องการสูญเสียความจำ หรืออาการของโรคสมองเสื่อม
ระยะที่2 ระยะก่อนสมองเสื่อม โดยผู้ป่ายนั้นจะเริ่มสูญเสียความจำ คือพยายามจำข้อมูลที่เรียนรู้เมื่อไม่นานมานี้ไม่ได้ และไม่สามารถรับข้อมูลใหม่ๆ ได้ การสูญเสียความจำจะเป็นมากกว่าคนทั่วไป แต่ไม่รุนแรงมากนัก
ระยะที่3 ระยะนี้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมีความบกพร่องของความจำ และการเรียนรู้อย่างแน่นอนได้ ผู้ป่วยบางส่วนมีปัญหาการใช้ภาษา พูดหรือใช้ศัพท์ไม่ฉะฉานหรือคล่องเหมือนเดิม พูดหรือเขียนภาษาได้น้อยลง อาจพบความบกพร่องของการการเคลื่อนไหว ทำให้ผู้ป่วยดูเงอะงะหรือซุ่มซ่าม
ระยะที่4 ระยะนี้เป็นระยะที่เริ่มจะเป็นโรคสมองเสื่อมในระยะเริ่มต้น หากซักประวัติดีดีก็จะพบว่ามีหลายอาการที่เข้าได้กับโรคสมองเสื่อม
ระยะที่5 ระยะนี้ผู้ป่วยเป็นโรคที่มีความรุนแรงปานกลาง ผู้ป่วยจะไม่สามารถนึกหาคำศัพท์ได้ การเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนจะลดลง ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ได้อย่างปกติระยะนี้ผู้ป่วยจะต้องพึ่งญาติในการดูแลกิจวัตรประจำวัน
ระยะที่6 ผู้ป่วยในระยะนี้มีอาการรุนแรงมากขึ้น สูญเสียความจำมากขึ้น ผู้ป่วยจะพูดประโยคซ้ำ จนกระทั่งไม่สามารถพูดได้เลย อาจจะตอบสนองด้วยการแสดงอารมณ์ ก้าวร้าว มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง อาการแสดงที่พบบ่อยคือการหนีออกจากบ้าน ความรู้สึกผิดปกติ หงุดหงิดโมโหง่าย และอารมณ์แปรปรวน เช่นร้องไห้ ก้าวร้าวอย่างไม่มีเหตุผล
ระยะที่7 ระยะนี้เป็นระยะท้ายองโรคผู้ป่วยไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม สื่อสารกับคนอื่นไม่ได้ ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ มักจะพูดประโยคหรือวลีซ้ำๆ ระยะนี้จะต้องมีคนดูแลทุกเรื่อง การเคลื่อนไหวร่างการมีปัญหา นั่งเอง รับประทานอาหารเองไม่ได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคสมองเสื่อมมีอะไรบ้าง?
การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เพิ่มอุบัติการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมองถึง 2 เท่า และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมถึงสองเท่า
การดื่มแอลกอฮอล์
การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หรือมีไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูง
การที่มีความดันโลหิตสูงในวัยกลางคน
โรคเบาหวานและภาวะดื้อต่ออินซูลิน
ภาวะไขมันในเลือดสูง หรือการระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง
โรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคหัวใจชนิดต่างๆ มีโอกาสทำเกิดหลอดเลือดสมองอุดตันจากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในหัวใจ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น